Off Page SEO Checklist, Techniques & Optimization Tips

Off Page SEO Checklist, Techniques & Optimization Tips (เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Off-page SEO ของเว็บไซต์)

Off Page SEO Checklist, Techniques & Optimization Tips
off page SEO.png

 

What is SEO Off Page Optimization? ( SEO Off Page มีความหมายว่าอย่างไร?)

          SEO Off Page คือ การทำ SEO รูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นทำ SEO ด้านนอกเว็บไซต์ที่ทำให้เว็บไซต์ของเราดีขึ้น เช่นการสร้างลิงค์จากเว็บอื่นมาเชื่อม/เข้าสู่เว็บเราหรือที่เขาเรียกกันว่า backlink

ในบทความนี้เราจะให้เทคนิคการทำ SEO Off Page ด้วยรายการดังต่อไปนี้

Off Page SEO Checklist 2015

  1. Search engine submission
  2. Social Bookmarking
  3. Directory Submission Sites
  4. Article Submission Sites
  5. Blog Commenting
  6. Guest Posting
  7. Forums
  8. Infographic Submission
  9. Image Submission
  10. Slide Sharing
  11. Video Marketing
  12. Web 2.0
  13. Social Networking
  14. PDF Submission
  15. Questions & Answers

 

เทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ SEO Off Page

1) Search engine submission – Search engine submission เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เว็บไซต์หรือบล็อกให้ search engine ค้นหาและพบเจอได้ง่าย เช่นใน Google, Yahoo และ Bing ดั้งนั้นคุณต้องลงทะเบียนเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้ได้อัตราการเข้าชมเว็บไซต์ (traffic) และคุณควรจะทำให้เว็บไซต์เป็น organic ด้วยเพื่อให้ได้อัตราเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้น

 

2) Social Bookmarking Social Bookmarking คือ เว็บที่ให้บริการเก้บเว็บไชต์ที่เราชื่อชอบ เหมือนกับ favourite’s ที่เราชื่นชอบ ซึ่งเป็นอีกส่วนที่จะทำให้เว็บไซต์มีอัตราการเข้าชม (traffic) เพิ่มขึ้นและจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ off-page SEO ของเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ social bookmarking เช่น Delicious, Digg ฯลฯ

 

3) Directory Submission Directory Submission คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ และนำไปช่วยสร้าง backlink ให้กับเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Directory submission เช่น Dmoz, Technoriti, Alltop ฯลฯ

 

4) Article Submission – Article submission คือ การสร้างลิงค์ไว้ในเนื้อหาที่จะส่งออกไปที่ลิงค์นั้นเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่ลิงค์เป็นเหมือนการสร้าง backlink ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มอันดับเว็บไซต์ได้ดีกว่าวิธีอื่น นอกจากนี้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า traffic ที่จะมาจากการ ซับมิต Article ที่มีการกำหนดเป้าหมายด้วยการคอนโทรลคีย์เวิร์ด การซับมิต Article จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของเว็บอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเว็บไซต์ Article submission เช่น Ezine, Geoarticles, Hubpages ฯลฯ

 

5) Blog Commenting – Blog commenting คือการที่มีผู้เยี่ยมชมมาแสดงความคิดเห็นต่างๆในบล็อกของคุณและการที่มีคนมาแสดงความคิดเห็นในเนื้อหานั้นเยอะๆจะช่วยทำให้อัตราการเยี่ยมชม (traffic) เพิ่มขึ้น สามารถอ่านวิธีการทำได้เพิ่มเติมที่ (http://www.bloggingtipsandtricks.com/2014/08/blog-commenting-for-traffic-seo.html)

 

6) Guest Posting – Guest posting คือ การเขียนบทความหรือเนื้อหาใน blog ของคนอื่นและมีผู้เยี่ยมชมเข้ามาโพสต์ที่บล็อกของคุณ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ backlink และเพิ่ม traffic ให้กับ blog ของคุณอย่างแน่นอน คุณสามารถอ่านวิธีการทำ Guest Blogging ได้ที่ (http://www.bloggingtipsandtricks.com/2014/06/matt-cutts-on-guest-blogging.html) และสามารถฟังการบรรยายของหัวข้อได้โดย Matt (https://youtu.be/IMxC3wQZOyc)

 

7) Forums – Forums คือ บอร์ดคำอภิปรายแบบออนไลน์โดยที่บุคคลสามารถ ถามคำถาม, แบ่งใช้ประสบการณ์ของตนเองและกล่าวถึงหัวข้อที่น่าสนใจร่วมกันได้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์เพราะมันจะช่วยสร้าง backlink ให้กับเว็บไซต์ได้มากขึ้น ยกตัวอย่างการตลาดทางอินเตอร์เน็ตของ SEO forums เช่น  Digital point, Site Ground, Black hat World ฯลฯ

 

8) Infographic Submission – การใช้ภาพ infographic กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในการทำ SEO ของเว็บไซต์ให้ติดอันดับใน SERPs เพราะ Infographic เป็นภาพหรือกราฟิกที่บ่งชี้ถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ความรู้ สถิติ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ search engine ค้นพบ SEO ของเว็บไซต์และนำไปทำให้ติดอันดับได้ ยกตัวอย่างภาพ Infographic:

Infographic.jpg

Infographic 2.jpg

ภาพจาก (http://www.oknation.net/blog/digitalmarketing/2013/01/01/entry-2)

 

9) Image Submission – เพิ่มรูปภาพในเว็บไซต์เพราะเราเชื่อว่าผู้เยี่ยมชมหลายคนคงต้องการที่จะเห็นภาพสวยๆในหน้าเว็บไซต์หรือใช้ภาพเพื่ออธบายในส่วนของเนื้อหา ดังนั้นคุณควรจะ Submit รูปภาพในบล็อก/เว็บไซต์หรือโซเชียลต่างๆของเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เนื้อหา (content) ของเว็บไซต์

 

10) Slide sharing – Slide sharing เป็นเทคนิคอีกวิธีหนึ่งที่ดีในการทำ off-page SEO ซึ่งคุณสามารถใช้กลยุทธ์ในการสร้างลิงค์ให้กับเว็บไซต์และยังมีเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงของ slideshare ดังนั้นถ้าคุณมีประสบการในการทำ slides คุณควรจะสร้างภาพ slide ของคุณแล้วส่งไปที่เว็บไซต์ slidesharing ต่างๆๆ

 

11) Video Marketing – Video Marketing เป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กรต่างๆเพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการ ซึ่งจุดเด่นของวีดีโอนั้นสามารถสื่อสารแทนคำพูดได้มากมาย ดังนั้นคุณควรจะไม่ลืมการตลาดผ่านทางวิดีโอด้วย

 

12) Web 2.0 – เว็บ 2.0 คือเวอร์ชั่นของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ มันคือรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในด้านการออกแบบเว็บไซต์ การใช้เว็บเวอร์ชั่น 2.0 เป็นวิธีที่ดีในการสร้างโปรไฟล์ลิงค์ให้กับเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ SEO ของเว็บไซต์

 

13) Social Networking – Social Networking เป็นการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่นำโซเชียลมาช่วยในการเผยแพร่เว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ต์รู้ เช่นการใช้ Facebook, Twitter และ Google plus เพื่อแชร์เว็บไซต์ของคุณกับเพื่อนๆและครอบครัว ดังนั้นคุณควรจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ SEO และคุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้สูงได้ด้วยการให้ Facebook โปรโมทให้อาจจะมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่มันก็คุ้มเพราะจะได้ traffic เข้าบล็อกหรือเว้บไซต์เพิ่นขึ้นอย่างแน่นอน

 

14) PDF Submissions – คุณสามารถสร้างไฟล์ pdf และส่งไฟล์ของคุณไปที่เว็บไซต์ Pdf submissions ได้ฟรี การทำแบบนี้จะช่วยให้ได้ link เข้าบล็อก/เว็บไซต์ และเทคนิคที่จะทำให้ traffic เพิ่มขึ้นได้จริงๆคือการใส่ link ไว้ในเนื้อหาหรือบทความที่สำคัญที่โพสต์ในบล็อก

 

15) Question & Answers – คำถามและคำตอบ การสร้างคำถามที่ผู้เยี่ยมชมถามไว้บ่อยที่สุดด้วยคำตอบและสร้างหน้า Question & Answers ไว้ในเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ทั้งหมดในบทความนี้เป็นรายการเทคนิคของการทำ off-page SEO ให้กับเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์และคุณสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับปรุงเว็บไซต์คุณได้

Cr. (http://www.bloggingtipsandtricks.com/2015/05/off-page-seo-techniques-checklist-optimization.html)

็็็็็็

 

 

 

 

 

How to do Keyword Research in 90 Minutes

วิธีการค้นหาและวิเคราะห์ Keyword ใน 90 นาที

ทุกคนคงเคยมีช่วงเวลาที่ต้องทำงานอะไรหลายๆอย่างพร้อมกันจนไม่มีเวลาว่างที่จะมานั่งค้นหาข้อมูลหรือเทรนด์เกี่ยวกับ keyword และคุณไม่อยากเสียเวลาในการนั่งอ่านบทความต่างๆ ที่มีผลลัพธ์การค้นหามากถึง 15.4 ล้านเว็บไซต์ที่จะทำให้คุณแม่นยำในด้าน keyword ได้อย่างแน่นอนถ้าคุณอ่านครบทุกเว็บไซต์

แต่น่าเสียดายที่ไม่มีใครมีเวลามาเปิดดู 15.4 ล้านเว็บไซต์ของผลลัพธ์และระบุว่าเว็บไซต์ไหนโพตส์เนื้อหาเป็นประจำ, เข้าประเด็น, หรือถูกต้อง จึงเป็นเหตุผลที่ผมตั้งข้อจำกัดให้แบ่งหมวดหมู่โดยเฉพาะและตารางระบุประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอ keyword ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับ organic search

Keyword Research

เราจะเริ่มต้นศึกษาด้วยการตั้งลูกค้านามสมมุติขึ้น  Joey Antipodean เป็นชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ใน แมนฮัตตันและชอบจิงโจ้มาก เขาชอบจิงโจ้มากจนตัดสินใจทำเว็บไซต์ www.kangaroosnyc.com ขึ้นมาสำหรับคนที่ชื่นชมและชอบจิงโจ้เหมื่อนกันมาสอบถามหรือเล่าประสบการณ์และมี community ที่สือสัตย์และมีชีวิตชีวา

 

การใช้ชุดเครื่องมือของ Google

          อันดับแรก Joey ต้องติดตั้ง Google Analytics (GA) และ Google Webmaster Tools (GWT) และตั้งแต่ Google เลิกแสดงผลลัพธ์ของ keyword ใน GA เราจึงต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เข้าไปที่ GA account ของ Joey แล้วคลิกตรงคำว่า “Acquisition” ในเมนูแถบตรงซ้ายมือ

2.ให้คลิกที่ “Source/Medium” ตรงใต้คำ “Acquisition”

  1. ในหน้าข้อมูลหลักให้คลิกตรงคำว่า “google/organic” (รูปภาพที่ 1)
  2. แล้วคลิกที่ “Secondary Dimension” ตรงใต้คำว่า “Behavior” แล้วคุณจะเจอ “Landing Page” (รูปภาพที่ 2)

1

(รูปภาพที่ 1)

keyword 2

(รูปภาพที่ 2)

แล้วคุณก็จะได้ตารางผลลัพธ์ของเว็บไซต์ที่ติดอันดับแรกๆ ที่จะช่วยให้คุณหา keyword ที่คุณต้องการได้จากการดูว่าเว็บไซต์นั้นมี traffic ที่ดีไหมและให้ดูว่าเนื้อหาของคุณคล้ายกับของเขาหรือเปล่าแล้วค่อยเลือกเอา keyword มาใส่ของเรา

keyword

 

แต่คุณสามารถหา keyword ที่เฉพาะและเจาะจงได้ด้วยการใช้ GWT เพราะ GWT จะช่วยให้คุณค้นหาและดูข้อมูลที่เฉพาะ, ความประทับใจ, อัตราคลิก, CTR และตำแหน่งเฉลี่ยบนหน้าเว็บ หลังจากนั้นในคลิกที่ “Search Traffic” ตรงซ้ายมือซึ่งแสดงข้อความสำหรับการค้นหาที่สามารถใช้ตัวกรองในการเอา traffic ของเว็บไซต์ที่มีแบรนด์ออกแล้วแสดงให้เห็นเฉพาะเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานคลิกเข้าไปดูจริงๆ แล้วทำให้ SERPs เห็นเว็บไซต์ http://www.kagaroosnyc.com ได้

Search

คุณสามารถเลือกตรงแถบว่าต้องการให้แสดงผลลับอันไหนได้ระว่างเว็บไซต์ยอดนิยมกับคำที่ค้นหายอดนิยม GWT มีการใช้งานที่แตกต่างจาก GA ตรงที่ GA จะแสดงผลให้เห็นแค่ URLs ของเว็บไซต์ต่างๆ แต่ GWT จะแสดงตาราง keyword ที่ใช้ละอัตราคลิกของคำนั้นๆ

3.png

 

เรามาเริ่มต้นด้วยการใส่ keyword ที่หาได้ใน GA และ GWA ลงใน Google Docs spreadsheet ก่อนแล้วค่อยมาเพิ่มจำนวนครั้งที่ถูกค้นหา ตอนนี้เราได้ข้อมูลมาแล้วและเราสามารถนำไปปรับปรุงคีย์เวิร์ดให้ดีขึ้นได้ ด้วยการใชเครื่องมือ Google Keyword Planner (GKP) เมื่อเข้าไปที่ GKP แล้วให้คลิกที่ “Search for new keyword and ad group ideas” และ ใส่คำว่า “kangaroos” ในช่องเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณและปล่อยช่องใส่ข้อความอื่นๆให้ว่างไปก่อนตอนนี้

GKP

GKP step

แล้วคลิกที่ “Get Ideas” ในด้านล่างของเพจ เมื่อได้ผลลัพธ์ให้คลิกที่ Click on “Avg. Monthly searches” เพื่อให้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย

GPK 3

เมื่อคุณคลิกที่กลุ่ม Ad “Kangaroo” คุณก็จะได้ keyword ทีเป็นคำสั้นๆแต่ผลลัพธ์หลังจากนั้นจะเริ่มมี keyword ที่ยาวขึ้นและเป็นคำถามเช่น “Where do kangaroos live” ถูกค้นหาถึง 1,000 ครั้งต่อเดือน ดังนั้นคุณควรจะใส่ใจในเรื่องของคีย์เวิร์ดที่เป็นคำถามด้วย เพราะมันจะช่วยให้เราติดอันดับได้ใน SERPs โดยไม่ต้องไปแข่งแข่นกับเว็บไซต์ของ National Geographic, Wikipedia, และ zoos ได้

อีกเครื่องมืออันหนึ่งที่คนไม่ค่อยจะรู้จักกันคือ Google Instant ที่จะช่วยค้นหาคีย์เวิร์ดได้โดยพิมพ์คำขึ้นต้นก่อนแล้วในการค้นหาจะเติมคำให้เอง เหมือนตัวอย่างในรูปภาพข้างล่างนี้

Google Instant

ให้รวบรวม keyword ที่คุณหามาได้ทั้งหมดและใส่ลงใน GKP ที่จะช่วยให้คุณหา traffic ในการค้นหานั้นโดยเฉพาะแล้วให้คลิกที่ “modify search” และคลิกตรกตัวเลือกให้ “Get search volume for a list of keywords or group them into ad groups” ก่อนที่จะโหลดกล่องขึ้นด้วย keyword ที่ต้องการ

 

ประเมินความเป็นจริง: เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้วหรือสร้างขึ้นมาใหม่?

คุณสามารถวิเคราะคีย์เวิร์ดของคุณได้ว่าจะสามารถแข่งขันในอันดับ SERPs ได้หรือไม่ มี Domain ที่มีความแข็งแกร็จหรือค่อนข้างอ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก? คุณสามารถวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ได้โดย Moz’s Open Site Explorer ที่จะช่วยคุณตรวจสอบเว็บไซต์คุณได้ว่าจะสามารถแข่งขันใน SERPs และมีโอกาศติดอันดับในหน้าแรกได้ไหม ส่วนการค้นหายอดนิยม “what do kangaroos eat” ที่ถูกค้นหามากถึง 2,400 ครั้งต่อเดือน

What do kangaroos eat

what do kangaroos eat 2.png

ต่อไปนี้ให้คุณนำ keyword ที่สะสมมาใน Google Doc  มาเรียงจัดอันดับของปริมาณการค้นหาต่อเดือนและหา keyword ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือ keyword ที่ใกล้เคียง หลังจากนั้นให้นำ keyword ที่ได้มาตรวจสอบความแปรปรวนในอันดับของ SERPs หากเราเห็นหน้าเดียวกันแสดงขึ้นซ้ำๆสำหรับการค้นหา แสดงว่าคุณไม่จำเป็นต้องใส่คำสั่งที่แตกต่างกันในหน้าอื่นๆของเว็บ คุณสามารถตัดบางส่วนออกเพราะคุณจะได้รับ traffic ที่เป็น organic ได้

สุดท้ายแล้วให้เลือก keyword ที่มียอดนิยมที่สุดและเลือกจากตาราง keyword ที่คุณเขียนเอาไว้ว่าคีย์เวิร์ดไหนจะนำ traffic มาให้เว็บไซต์คุณมากที่สุดที่มี title tag ประสิทธิภาพ แต่คุณยังไม่ได้ได้สร้างเพจหรือเว็บไซต์ให้ keyword เหล่านั้นดังนั้นให้อ่านในขั้นตอนต่อไป

 

Listen to the ideal audience (ค้นหากลุ่มเป้าหมาย

จากที่คุณได้ทำมาทั้งหมดยังเป็นแค่การหา keyword และประโยคที่คุณคิดว่าผู้ใช้งานจะค้นหาใน Google แต่คุณกำงลำเอียงเพราะคุณก็ต้องฟังความต้องการของผู้ใช้งานด้วย โดยการหาจากเพจโซเชียลต่างๆ ด้วยการใช้ hashtag และ keyword เพื่อค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้งานกำลังสนใจและพูดถึงมากที่สุด

เช่น พิมพ์คำว่า “kangaroo pet” ในช่องการค้นหาใน Twitter แล้วคุณก็จะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและหลากหลายที่ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการแต่อาจจะมีผลลัพธ์ของสิ่งอื่นๆที่คล้ายกัน การที่คุณค้นหาใน Twitter คงจะให้ไอเดียในการคิด keyword และเพิ่มใส่ใน GKP อย่างไรก็ตามการใช้คีย์เวิร์ดที่เป็นประโยคหรือยาวคงจะไม่ช่วยให้คุณมี traffic เข้าเพจได้มาก แต่ถ้ามันเป็นที่นิยมและพูดถึงมากในโซเชียลอาจจะทำให้มี traffic เข้ามามากก็ได้ ดังนั้นคุณควรจะเลือก keyword ที่เหมาะกับผลิตภันณ์/บริการของคุณ

นอกจากการใช้ Twitter และโซเซียลมิเดียต่างๆแล้วคุณสามารถใช้ฟอรั่มที่จำนำไปสู่คำถามและคำตอบที่ตอบโดยมนุษย์ไม่ใช่บอทที่ทำตามอัลกอริทึ่มที่ได้วางไว้ ปกติการโต้ตอบในฟอรั่มจะมีรายละเอียดสูงในการตอบคำถาม แต่ถ้าคำถามที่อยู่ในบล็คต่างๆนั้นมีผู้ใช้งานสนใจมากและถูกแชร์ไปในเพจต่างๆคุณก็ควรจะพิจราณาการใช้ keyword แบบ long-tail มากกว่า keyword แบบ short-tail

 

Demonstrate room for growth

คุณควรจะภูมิใจกับการได้ keyword จากการค้นหาในโปรแกรมต่างๆ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Joey Antipodean จะดูแลหรือแม้กระทั้งให้ความสนใจกับเว็บไซต์ของเขา ดังนั้นเราควรจะบอกให้เข้าใส่ใจในเรื่องของการอัพเดทเนื้อหาและรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่อยู่ในเว็บไซต์เพราะ SEO ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มาก บางที่เมื่อบอทไปตรวจเว็บไซต์แล้วพบว่าคุณได้อัพเดทสิ่งเหล่านั้นเป็นประจำอาจจะทำให้ติดอันดับขึ้นมาก็ได้

เว็บไซต์ที่เป็น e-commerce ควรจะสามารถให้ค่าเฉลี่ยของการสั่งซื้อ (AOV) สำหรับรายการ แต่ไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่ Joey เป็นส่วนร่วมด้วยมารตการเปลี่ยนแปลงเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สมมุติว่าเว็บไซต์ www.kangaroosnyc.com ต้องการให้ผู้ใช้งานมาลงชื่อใช้อีเมล์และเข้าชมในอัตรา 3% และมีอีกมีห้าเว็บไซต์ที่ไม่ได้มีทำคีย์เวิริดเฉพาะให้แต่ติดอยู่ในอันดับของ SERPs

เราจะใช้การประมาณค่าของอัตราคลิกเข้าข้อมูลเหมือนในกรณีศึกษาจากกราฟของ Advanced Web Ranking เราจะเห็นได้ว่าอัตราการคลิกในจุดที่สี่มีค่า 6.97% และมีการแสดงผลในเว็บไซต์ที่ติดในห้าอันดับนั้น 10,000  ครั้งต่อเดือน 697 จะเข้าไปถึงเว็บไซต์และจาก 697 นั้นจะมีแค่ 3% หรือ 21 คนจะลงทะเบียนแล้วให้อีเมล์ของเขา

Google Organic Click-Through Rates

สามารถอ่านรายล่ะเอียดเกี่ยวกับ Google Organic Click-Through Rates in 2014 ได้ที่ http://www.advancedwebranking.com/blog/google-organic-click-through-rates-2014/

 

แต่มันก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการหา keyword เราจะคาดหวังให้ keyword นั้นติดอยู่ในอันดับสูงๆจนมาหยุดอยู่ที่ตำแหน่งคงที่ ให้ทำตามขั้นตอนเดิมแต่ Google ให้ อัตราคลิกเป็น 31.24% ก็จะได้ย้ายไปอีกจุดหนึ่งจะได้อัตราคลิกถึง 3,124 คลิกด้วยการแสดงผล 10,000 ที่จะมีผู้ใช้งานมาลงทะเบียนอีเมล์เกือบ 94 หรืออาจมีเพิ่มถึง 74 คนถ้าคุณทำกระบวน keyword ให้ แต่สำหรับลูกค้าที่ทำเว็บไซต์ e-commerce เราจะสนใจเกี่ยวกับรายได้ของเว็บไซต์มากกว่าการนำคนมาลงทะเบียนในอีเมล์

Google Organic Click-through Rates 2

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างการหา keywords ให้กับเว็บไซต์ Kangaroos NYC เพื่อนำ traffic และอัตราการคลิกเข้าชมให้กับเว็บไซต์ แต่คุณก็ต้องหาข้อมูลและดูว่าลูกค้าของคุณทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไรก่อนแล้วค่อยลงมือเริ่มทำ และอย่าลืมเหตุผลที่คุณตั้งไว้ว่าจะทำให้เว็บไซต์ติดในอันดับที่สูงที่สุดของ SERPs ใน Google ดังนั้นคุณควรจะให้ความสำคัญกับข้อมูลและรายละเอียดต่างๆแล้วนำไปทำเว็บไซต์ของคุณ

 

Cr. https://moz.com/blog/keyword-research-in-90-minutes

 

ขั้นตอนในการทำ SEO เบื้องต้น Part 15: Google Penalty Recovery

ขั้นตอนในการทำ SEO เบื้องต้น Part 15: Google Penalty Recovery

 

  1. Manual penalties

       Google Penalty คือการที่ กูเกิ้ลลดอันดับของเว็บไซต์ที่ทำผิดกฏ ทำให้ผลการค้นหาของเว็บไซต์นั้นๆตกไปอยู่ในอันดับที่ไม่ดี หรือไม่ก็ไม่ปรากฏใน Google อีกเลย แล้วคุณจะได้รับแจ้งเตือนผ่านอีเมล์และข้อความในเครื่องมือเว็บมาสเตอร์

  1. ตรวจสอบการลดลงของผู้เข้าชมใน Google อัพเดทเป็นประจำ

การที่จำนวน traffic ของเว็บไซต์หรือเพจลดลงเป็นผลที่ไม่ดีเพราะจะทำให้อันดับของเว็บไซต์คุณตกลงไปได้ ดังนั้นให้ตรวจสอบ traffic ของเว็บไซต์เป็นประจำ

  1. ย่อหรือตัด Content ที่บางออก

                 สำหรับ penalties ที่ได้จัดอยู่ในแพนดาอัพเดทแล้วเว็บไซต์/เพจมีเนื้อหาที่ซ้ำกันหรือน้อยเกินไปคุณควรจะลบออก ‘beef up’ or de-index

  1. นำ Links ที่คุณภาพต่ำออก

ยกเลิกการเชื่อมโยงกับ Links ที่คุณภาพต่ำแล้วนำออกจากเว็บไซต์ของคุณทันทีเพื่อไม่ให้บอทของ Google ตรวจพบได้แล้วลดอันดับของคุณ

  1. ปฎิเสธลิงค์ที่ไม่สามารถนำออกได้

ให้ปฎิเสธลิงค์ที่มีคุณภาพต่ำแล้วไม่สามารถนำออกจากระบบได้

  1. ตรวจสอบลิงค์ที่แฮ็คเข้ามา

         ตรวจสอบให้ละเอียดว่าไม่มีลิงค์ที่แฮ็คเข้ามาเชื่อมกับเว็บไซต์ของคุณ

  1. พิจารณาคำขอไฟล์ใหม่

     คุณควรจะพิจรณาคำขอไฟล์ใหม่ทุกครั้งก่อนที่จะยืนยันในคำขอของไฟล์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแล้วถูกลงโทษได้

 

(Credit: https://ahrefs.com/blog/seo-tips)

 

 

ขั้นตอนในการทำ SEO เบื้องต้น Part 10: Google Analytics (การวิเคราะห์เว็บ)

Part 10: Google Analytics (การวิเคราะห์เว็บ)

 

  1. สมัครใช้ Google analytics

Google Analytics ก็คือการวิเคราะห์เว็บไซต์ที่เป็นตัวเก็บสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ รวมทั้งติดตามประสิทธิภาพของแคมเปญการโฆษณา หรือโปรแกรมการโฆษณาอื่นๆ ด้วยข้อมูลนี้ จะทราบว่า keyword ใดที่ได้ผล ข้อความโฆษณาใดมีประสิทธิภาพมากที่สุดและผู้เข้าชเว็บไซต์ (Traffic) ออกจากเว็บไซต์ที่จุดใด

  1. ตรวจสอบสถิติของเว็บไซต์เป็นประจำ

ตรวจสอบเว็บไซต์เป็นประจำเพื่อที่จะได้รู้ความเคลื่อนไหวของสถิติผู้เข้าชม (Traffic) และอัตราการคลิกของหน้าเพจในเว็บไซต์

(Credit: https://ahrefs.com/blog/seo-tips)