Google Algorithm: Panda, Penguin และ Hummingbird

 

What is an algorithm change?

เราจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงความหมายของ Google algorithm เป็นเป็นสิ่งที่ซับซ้อนละยุ่งยากแต่ Google ก็พยายามหาขั้นตอนและวิธีการต่างๆเพื่อให้ง่ายขึ้น Google algorithm ทำหน้าที่ในการจัดอันดับในหน้า SERP เมื่อมีการพิมพ์คำค้นหาลงไป ซึ่งเงื่อนไขในการจัดอันดับการค้นหา Google ไม่เปิดเผยว่าใช้อะไรเป็นปัจจัย ในการจัดอันดับแต่ Google ได้จัดทำ “คู่มือเริ่มต้น SEO” ว่าควรจัดทำหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้ง่ายสำหรับการเก็บข้อมูล และแสดงผลการค้นหาที่สอดคล้องกับ “คำค้นหา”

Meta keyword tag เป็นส่งที่จะบอก search engine ว่าเพจ/เว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร

Google algorithm

 

Google ได้เริ่มพัฒนานักพัฒนาระบบของส่วนที่สร้างผลลัพธ์ของ Google search engine และหาวิธีการกำจัดเว็บไซต์ที่ใช้การโกงใน SEO ให้ได้ติดอันดับต้นๆของ search engine ตอนนี้ algorithm จะตัวสอบหลายประการของแต่ละหน้าในเว็บไซต์หรือบล็อก เช่น title, title tag, meta tag, meta description ฯลฯ

 

ที่ผ่านมา Google algorithm ไม่ค่อยได้มีการเปลี่ยนแปลงสมมุติว่าเว็บไซต์ของคุณติดอยู่ในอันดับที่ #1 ของ SERPs นั้นแสดงว่าเว็บไซต์จะครองตำแหน่งนั้นไว้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของ Google algorithm แต่ก็ไม่ใช่ว่าตำแหน่งของเว็บไซต์คุณจะเปลี่ยนทันทีอาจจะใช้เวลาหลายอาทิตย์ตามอัพเดทใหม่ของ algorithm แล้ว Google จะทำอัพเดทใหม่อันดับของแต่ละเว็บไซต์ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลง

 

การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของ Google algorithm ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ 3 อย่าง คือ Panda algorithm, the Penguin algorithm และ Hummingbird algorithm

 

What is the Panda algorithm?

panda algorithm

Panda algorithm ได้อัพเดทขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ได้สร้างผลกระทบอย่างมากให้กับนักพัฒนาเว็บไซต์ จุดประสงค์ของ Panda อัพเดทคือ จะพยายามทำให้เว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาจัดอยู่ในอันดับต้นๆของ SERPs ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อ content ในเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก

ตอนแรกที่มีการอัพเดท Panda นักพัฒนาด้าน SEO ส่วนมากคิดว่าระบบนี้จะตรวจสอบเว็บไซต์ที่มี backlink ที่เป็นสายดำที่โกงมาใส่เว็บไซต์แต่จริงๆแล้ว Panda ตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ในหลายกรณี เว็บไซต์ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจนทำให้เว็บไซต์ตกอันดับลงมาเยอะมาก ดังนั้น Google จึงได้ตั้งคำถามว่าต้องการให้แก้ไขอะไรใน Panda algorithm บ้าง ด้วยคำถามต่อไปนี้:

  • บทความนั้นเขียนขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่รู้จักหัวข้อนั้นดีพอหรือไม่
  • เว็บไซต์นั้นมีเนื้อหาที่เหมือนกัน ซ้ำกัน ใช้คำซ้ำซากในเนื้อหาของหัวข้อเดียวหรือไม่
  • คุณจะสะดวกให้ข้อมูลบัตรเครดิตกับเว็บไซต์นี้หรือไม่
  • เนื้อหาในเว็บไซต์มีคำที่สะกดผิดมากน้อยแค่ไหน
  • หัวของของเนื้อหามีความน่าสนใจที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้เยื่ยมชมได้มากแค่ไหน
  • บทความหรือเนื้อหามีความดังเดิมที่เขียนขึ้นมาใหม่หรือลอก (copy) มาจากเว็บไซต์อื่นหรือเปล่า
  • หน้าเพจให้ค่าเฉลี่ยของเนื้อหาที่เป็นดั้งเดิมและ organic ในผลลัพธ์ของการค้นหามากเท่าไร
  • เนื้อหามีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
  • ในบทความได้อธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบไหม
  • บทความถูกสร้างขึ้นโดยนักเขียนคนเดียวด้วยเนื้อหาที่กว้างหรือจากนักเขียนหลายๆคนแล้วนำมาประกอบกันเป็นบทความ
  • บทความนั้นมีคำอธิบายของหัวข้อไหม (description)
  • บทความนั้นมีส่วนประกอบที่เป็นเชิงวิเคราะห์หรือเนื้อที่เกินความเป็นจริงหรือไม่
  • เป็นเพจ/เว็บไซต์ที่ทำให้ผู้เยี่ยมชมสนใจและแชร์หรือทำเป็น Bookmark หรือไม่
  • เว็บไซต์มีโฆษณามากไปจนทำให้ผู้เยี่ยมชมเกิดความรำคาญหรือไม่
  • คุณคาดหวังให้บทความในเว็บไซต์มีการตีพิมพ์เป็นนิตยสารหรือหนังสือไหม
  • บทความในเว็บไซต์สั้นและครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดไหม
  • ผู้ใช้งานจะแสดงความไม่พอใจไหมเมื่อเห็นเพจจากเว็บไซต์ของคุณ

 

มันมีปัจจัยอยู่บางอย่างที่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและผู้พัฒนาด้าน SEO ยอมทำตามเงื่อนไขของ Panda ในหัวข้อย่อยต่อไปนี้

 

Thin content (เนื้อหาที่สั้น)

          การมีเพจที่ “thin” ไม่ได้หมายความว่าหน้าเพจของคุณจะมีตัวอักษรเป็นจำนวนที่น้อยแต่หมายความว่าเพจของคุณมีเนื้อหาที่ไม่มากหรืออธิบายความหมายด้วยวิธีอื่น เช่นการใช้ภาพ infographic อธิบายหรือตั้งจุดประสงค์ที่เป็นประเด็นประมาณหนึ่งถึงสองบรรทัดและหน้าเพจนั้นอยู่ใน Google index เพราะ Panda algorithm จะตรวจสอบให้ได้ว่าเพจของคุณมีประสิทธิภาพที่ต่ำหรือไม่

 

Duplicate content (เนื้อหาที่เหมือนกัน)

          มันมีหลายเหตุผลที่จะทำให้เนื้อหาที่เหมือนกันหรือซ้ำกันทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่ต่ำสำหรับ Panda algorithm สิ่งแรกของการมีเนื้อหาที่เหมือนกันคือเว็บไซต์นั้นมีเนื้อหาที่เยอะและถูกคัดลอกแล้วเอามาวางไว้ ที่ผ่านมา Google ได้แนะนำให้นัก SEO เขียนบทความที่อัพเดทอย่างสม่ำเสมอและเพิ่มบทความใน Google index บอทของ Google จะตรวจสอบเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาได้ว่าเป็นเนื้อหาที่คัดลอกมาหรือไม่ เราจะยกตัวอย่างที่จะทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพต่ำได้ คือ การที่เว็บไซต์คุณเว็บขายสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีลิงค์ของแต่ล่ะสินค้าจะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีลิงค์ของสินค้ามากจนเกินไปและ Google index จะไม่รับ คุณควรจะใช้ canonical tag แทน

 

 Low-quality content (เนื้อหาที่มีประสิทธิภาพต่ำ)

          เวลาเราเขียนบทความเราก็ต้องการให้ Google ตรวจสอบเจอแต่บทความหรือเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ผ่านมานักออกแบบ SEO ได้ให้คำแนะนำเว็บไซต์ที่เป็นธุรกิจต่างๆเขียนเนื้อหาให้มีความน่าเชื่อถือเพื่อเป็นประสิทธิภาพที่สูงเวลาเพิ่มใน Google Index จะไม่ได้ถูกวิเคราะห์ให้เป็นเนื้อหาที่คุณภาพต่ำเพราะมันจะทำให้คุณตกอันดับใน SERPs ได้ง่าย

 

How to recover from a Panda hit (วิธีแก้ไขการเสียหายจาก Panda)

          Google จะอัพเดท Panda algorithm เกือบทุกๆเดือน แต่ก่อนเขาจะประกาศบอกทุกครั้งที่จะมีการอัพเดทแต่ตอนนี้เขาจะประกาศบอกถ้ามีการอัพเดทใหญ่ๆของ Panda algorithm สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการอัพเดท Panda algorithm แล้ว Google จะไปตรวจสอบเว็บไซต์ใหม่และถ้าคุณอยากแก้ไขอันดับใน SERPs คุณก็ต้องไปลบเนื้อหาที่เหมือนกันหรือซ้ำกันออกเพื่อให้ระบบได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเว็บไซต์ได้แต่บางเว็บไซต์อาจจะถูก Panda ตรวจสอบและเห็นการเปลี่ยนแปลงของเว็บไซต์ได้ในการอัพเดทครั้งทัดไป

ทุกวันนี้เวลา Google จะ refresh algorithm ระบบจะเปลี่ยนเป็นการอัพเดทและเมื่อมีการอัพเดทนั้นแสดงว่า Google ได้ทำการเปลี่ยนแปลงในกฏเกณฑ์ของการตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2014 Google ได้ทำการอัพเดทหลักแล้วตั้งชื่อให้ว่า Panda 4.0 ซึ่งทำให้หลายเว็บไซต์ได้รับผลกระทบที่หนักกว่าเดิม

Panda 4.0

 

What is the Penguin algorithm? (Penguin algorithm คืออะไร?)

google-penguin.jpg

Google Penguin algorithm ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2012 เป้าหมายของ Penguin algorithm คือ โดยเน้นการจัดการกับ Low Quality เว็บไซต์ที่ใช้วิธีการซื้อ Backlinks ที่เน้น Spam Anchor text เพื่อสร้างอันดับบนผลการค้นหาและสิ้งที่ถูกตรวจสอบที่สำคัญที่สุดใน Penguin คือ links นั้นเอง

Why are links important? (ทำไม links ถึงเป็นส่วนที่สำคัญ)

ลิงค์ คือ หัวข้อต่างๆ ที่สามารถโยงหรือว่าคลิกไปยังเวบไซต์หรือรายละเอียดที่ระบุเอาไว้โดยการใช้เมาส์เลื่อนไปคลิกยังลิงค์เหล่านี้แล้วการที่คุณใส่ link ในบทความหรือเนื้อหาไว้จะเป็นผลดีให้กับเว็บไซต์ซึ่งเป็นเหตุผลที่นัก SEO จึงสร้าง link ในเว็บไซต์ให้ได้มากที่สุด

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญใน Google algorithm คือ anchor text ที่เป็นลิงค์ที่ขีดเส้นใต้เอาไว้ Anchor Text หมายถึงข้อความที่เป็น Link เชื่อมโยงซึ่ง Bot ของ Search Engine จะให้ความสำคัญกับข้อความชนิดนี้มากกว่าข้อความปกติ หรือถูกให้ความสำคัญกว่าลิงค์ปกติ

เราไม่ค่อยแน่ใจว่า Penguin algorithm ตรวจสอบปัจจัยไหนเป็นหลักแต่เรารู้ว่า Penguin algorithm จะค้นหาและตรวจสอบลิงค์ที่มีประสิทธิภาพต่ำในเว็บไซต์ Penguin algorithm เปรียบเสมือนเครื่องวัดความจริงของลิงค์

 

How to recover from a Penguin hit? (วิธีแก้ไขผลกระทบจาก Penguin)

          Penguin algorithm เป็นเครื่องกรองคล้ายกับ Panda algorithm ที่มีการอัพเดทเป็นประจำเกือบทุกเดือน อัพเดทครั้งสุดท้ายของ Penguin เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2013 ซึ่งหมายความว่านักออกแบบ SEO แต่ละคนรอเวลาแปดเดือนในการอัพเดทครั้งนี้เพื่อแก้ไขเว็บไซต์และให้ระบบของ Penguin มาตรวจสอบและแก้ไขอันดับให้ใหม่และการที่คุณจะแก้ไขเว็บไซต์หรือหลีกเลี่ยงผลกระทบจาก Penguin นั้นคือการแก้ไขหรือลบลิงค์ในเว็บไซต์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือออก คุณสามารถให้ Google มาช่วยตรวจสอบลิงค์ที่ไม่น่าเชื่อถือได้ด้วยเครื่องมือ disavow tool (https://support.google.com/webmasters/answer/2648487?hl=en)

ถ้าคุณแก้ไขลิงค์ที่เสียออกจากเว็บไซต์จนหมดในการอัพเดทของ Penguin ครั้งหน้าอาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณได้อันดับที่ดีขึ้นและได้ความน่าเชื่อถือกลับมาได้

เราแนะนำให้คุณใช้เครื่องมือ disavow tool ในการช่วยเหลือให้เว็บไซต์คุณตรวจสอบลิงค์ที่ไม่น่าเชื่อถือและลบออกให้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดในการใช้เครื่องมือ disavow tool ได้แก่

 

นอกจาก Penguin algorithm จะทำงานไม่เหมือนกับ manual unnatural links แล้ว คุณยังไม่ต้องส่งไฟล์หรือเอกสารเพื่อรายงานการแก้ไขของเว็บไซต์เพราะ Google ไม่มีพนักงานมาตรวจสอบเว็บไซต์คุณในทุกรายละเอียดทุกอย่างจะถูกบอทตรวจสอบโดยอัตโนมัติในระบบ Google Penguin algorithm

 

What is Hummingbird? (Google Hummingbird คืออะไร?)

google hummingbird

     Google Hummingbird เป็น algorithm อันล่าสุดที่ Google ได้อัพเดพละใช้งานเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2013 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อการทำ SEO โดยตรง มีการพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกันต่างๆ มากมาย บ้างก็ว่าจะทำให้การจัดอันดับสำหรับ content ที่มีคุณภาพนั้นดีขึ้น แต่ในเบื้องหลังของ algorithm แล้วไม่มีใครทราบได้ว่าจริงๆว่ามันทำงานอย่างไรกันแน่ Hummingbird algorithm แตกต่างจาก Panda และ Penguin algorithm เพราะ Hummingbird algorithm นี้เน้นการปรับปรุงความสามารถของระบบในการเข้าใจสิ่งที่ User ต้องการค้นหาจริงๆ เช่นการตั้งคำถามยาวๆให้กับ content ของว็บไซต์ เพื่อตามความต้องการของผู้ที่ค้นหาเนื้อนั้นๆได้ตามที่ต้องการ

 

So how do I recover or improve in the eyes of Hummingbird? เราจะแก้หรือปรับปรุงเว็บไซต์เรายังไงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน Hummingbird?

จากข้อมูลของ Hummingbird algorithm ที่เราทราบกันแล้วเราควรจะสร้างหรือเขียน content ให้ตอบคำถามตามความต้องการของผู้ใช้งานให้ได้เมื่อเขาค้นหารายละเอียดต่างๆใร Google เพราะเป้าหมายหลักของ Hummingbird algorithm คือให้ผู้ดูแลเว็บไซต์สร้างเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้คำตอบในความต้องการของผู้ที่ค้นหาใน Google

เรารู้ว่าการปรับปรุงของเว็บไซต์จากการเสียหายที่ได้จาก Hummingbird algorithm มันแก้ไขไม่ง่ายเหมือนกับใน Panda และ Penguin algorithm ที่ผ่านมา เพราะว่าในสองอย่างนั้น Google แค่ต้องการให้ปรับปรุ่งประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ถ้าคุณปรับปรุ่งและแก้ไขตามที่ Google ต้องการได้แล้วคุณจะได้อันดับเดิมกลับมาหรืออาจจะจัดอันดับให้สูงกว่าตอนแรกด้วย แต่ถ้าคุณได้รับผลกระทบจาก Hummingbird อัพเดทนี้คุณไม่สามารถไปแก้ไข keyword หรือ keyword ranking ต่างๆของเว็บไซต์เพื่อให้ได้อันดับที่ดีกลับมาแต่คุณสามารถทำให้อันดับเหมือนเดิมได้จากการสร้าง traffic เข้าเว็บไซต์

 

Cr. https://moz.com/blog/google-algorithm-cheat-sheet-panda-penguin-hummingbird ็็้็็้้้

 

 

 

 

Off Page SEO Checklist, Techniques & Optimization Tips

Off Page SEO Checklist, Techniques & Optimization Tips (เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Off-page SEO ของเว็บไซต์)

Off Page SEO Checklist, Techniques & Optimization Tips
off page SEO.png

 

What is SEO Off Page Optimization? ( SEO Off Page มีความหมายว่าอย่างไร?)

          SEO Off Page คือ การทำ SEO รูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นทำ SEO ด้านนอกเว็บไซต์ที่ทำให้เว็บไซต์ของเราดีขึ้น เช่นการสร้างลิงค์จากเว็บอื่นมาเชื่อม/เข้าสู่เว็บเราหรือที่เขาเรียกกันว่า backlink

ในบทความนี้เราจะให้เทคนิคการทำ SEO Off Page ด้วยรายการดังต่อไปนี้

Off Page SEO Checklist 2015

  1. Search engine submission
  2. Social Bookmarking
  3. Directory Submission Sites
  4. Article Submission Sites
  5. Blog Commenting
  6. Guest Posting
  7. Forums
  8. Infographic Submission
  9. Image Submission
  10. Slide Sharing
  11. Video Marketing
  12. Web 2.0
  13. Social Networking
  14. PDF Submission
  15. Questions & Answers

 

เทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ SEO Off Page

1) Search engine submission – Search engine submission เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เว็บไซต์หรือบล็อกให้ search engine ค้นหาและพบเจอได้ง่าย เช่นใน Google, Yahoo และ Bing ดั้งนั้นคุณต้องลงทะเบียนเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้ได้อัตราการเข้าชมเว็บไซต์ (traffic) และคุณควรจะทำให้เว็บไซต์เป็น organic ด้วยเพื่อให้ได้อัตราเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้น

 

2) Social Bookmarking Social Bookmarking คือ เว็บที่ให้บริการเก้บเว็บไชต์ที่เราชื่อชอบ เหมือนกับ favourite’s ที่เราชื่นชอบ ซึ่งเป็นอีกส่วนที่จะทำให้เว็บไซต์มีอัตราการเข้าชม (traffic) เพิ่มขึ้นและจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ off-page SEO ของเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ social bookmarking เช่น Delicious, Digg ฯลฯ

 

3) Directory Submission Directory Submission คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ และนำไปช่วยสร้าง backlink ให้กับเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Directory submission เช่น Dmoz, Technoriti, Alltop ฯลฯ

 

4) Article Submission – Article submission คือ การสร้างลิงค์ไว้ในเนื้อหาที่จะส่งออกไปที่ลิงค์นั้นเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่ลิงค์เป็นเหมือนการสร้าง backlink ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มอันดับเว็บไซต์ได้ดีกว่าวิธีอื่น นอกจากนี้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า traffic ที่จะมาจากการ ซับมิต Article ที่มีการกำหนดเป้าหมายด้วยการคอนโทรลคีย์เวิร์ด การซับมิต Article จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของเว็บอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเว็บไซต์ Article submission เช่น Ezine, Geoarticles, Hubpages ฯลฯ

 

5) Blog Commenting – Blog commenting คือการที่มีผู้เยี่ยมชมมาแสดงความคิดเห็นต่างๆในบล็อกของคุณและการที่มีคนมาแสดงความคิดเห็นในเนื้อหานั้นเยอะๆจะช่วยทำให้อัตราการเยี่ยมชม (traffic) เพิ่มขึ้น สามารถอ่านวิธีการทำได้เพิ่มเติมที่ (http://www.bloggingtipsandtricks.com/2014/08/blog-commenting-for-traffic-seo.html)

 

6) Guest Posting – Guest posting คือ การเขียนบทความหรือเนื้อหาใน blog ของคนอื่นและมีผู้เยี่ยมชมเข้ามาโพสต์ที่บล็อกของคุณ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ backlink และเพิ่ม traffic ให้กับ blog ของคุณอย่างแน่นอน คุณสามารถอ่านวิธีการทำ Guest Blogging ได้ที่ (http://www.bloggingtipsandtricks.com/2014/06/matt-cutts-on-guest-blogging.html) และสามารถฟังการบรรยายของหัวข้อได้โดย Matt (https://youtu.be/IMxC3wQZOyc)

 

7) Forums – Forums คือ บอร์ดคำอภิปรายแบบออนไลน์โดยที่บุคคลสามารถ ถามคำถาม, แบ่งใช้ประสบการณ์ของตนเองและกล่าวถึงหัวข้อที่น่าสนใจร่วมกันได้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์เพราะมันจะช่วยสร้าง backlink ให้กับเว็บไซต์ได้มากขึ้น ยกตัวอย่างการตลาดทางอินเตอร์เน็ตของ SEO forums เช่น  Digital point, Site Ground, Black hat World ฯลฯ

 

8) Infographic Submission – การใช้ภาพ infographic กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในการทำ SEO ของเว็บไซต์ให้ติดอันดับใน SERPs เพราะ Infographic เป็นภาพหรือกราฟิกที่บ่งชี้ถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ความรู้ สถิติ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ search engine ค้นพบ SEO ของเว็บไซต์และนำไปทำให้ติดอันดับได้ ยกตัวอย่างภาพ Infographic:

Infographic.jpg

Infographic 2.jpg

ภาพจาก (http://www.oknation.net/blog/digitalmarketing/2013/01/01/entry-2)

 

9) Image Submission – เพิ่มรูปภาพในเว็บไซต์เพราะเราเชื่อว่าผู้เยี่ยมชมหลายคนคงต้องการที่จะเห็นภาพสวยๆในหน้าเว็บไซต์หรือใช้ภาพเพื่ออธบายในส่วนของเนื้อหา ดังนั้นคุณควรจะ Submit รูปภาพในบล็อก/เว็บไซต์หรือโซเชียลต่างๆของเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เนื้อหา (content) ของเว็บไซต์

 

10) Slide sharing – Slide sharing เป็นเทคนิคอีกวิธีหนึ่งที่ดีในการทำ off-page SEO ซึ่งคุณสามารถใช้กลยุทธ์ในการสร้างลิงค์ให้กับเว็บไซต์และยังมีเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงของ slideshare ดังนั้นถ้าคุณมีประสบการในการทำ slides คุณควรจะสร้างภาพ slide ของคุณแล้วส่งไปที่เว็บไซต์ slidesharing ต่างๆๆ

 

11) Video Marketing – Video Marketing เป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กรต่างๆเพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการ ซึ่งจุดเด่นของวีดีโอนั้นสามารถสื่อสารแทนคำพูดได้มากมาย ดังนั้นคุณควรจะไม่ลืมการตลาดผ่านทางวิดีโอด้วย

 

12) Web 2.0 – เว็บ 2.0 คือเวอร์ชั่นของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ มันคือรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในด้านการออกแบบเว็บไซต์ การใช้เว็บเวอร์ชั่น 2.0 เป็นวิธีที่ดีในการสร้างโปรไฟล์ลิงค์ให้กับเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ SEO ของเว็บไซต์

 

13) Social Networking – Social Networking เป็นการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่นำโซเชียลมาช่วยในการเผยแพร่เว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ต์รู้ เช่นการใช้ Facebook, Twitter และ Google plus เพื่อแชร์เว็บไซต์ของคุณกับเพื่อนๆและครอบครัว ดังนั้นคุณควรจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ SEO และคุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้สูงได้ด้วยการให้ Facebook โปรโมทให้อาจจะมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่มันก็คุ้มเพราะจะได้ traffic เข้าบล็อกหรือเว้บไซต์เพิ่นขึ้นอย่างแน่นอน

 

14) PDF Submissions – คุณสามารถสร้างไฟล์ pdf และส่งไฟล์ของคุณไปที่เว็บไซต์ Pdf submissions ได้ฟรี การทำแบบนี้จะช่วยให้ได้ link เข้าบล็อก/เว็บไซต์ และเทคนิคที่จะทำให้ traffic เพิ่มขึ้นได้จริงๆคือการใส่ link ไว้ในเนื้อหาหรือบทความที่สำคัญที่โพสต์ในบล็อก

 

15) Question & Answers – คำถามและคำตอบ การสร้างคำถามที่ผู้เยี่ยมชมถามไว้บ่อยที่สุดด้วยคำตอบและสร้างหน้า Question & Answers ไว้ในเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ทั้งหมดในบทความนี้เป็นรายการเทคนิคของการทำ off-page SEO ให้กับเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์และคุณสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับปรุงเว็บไซต์คุณได้

Cr. (http://www.bloggingtipsandtricks.com/2015/05/off-page-seo-techniques-checklist-optimization.html)

็็็็็็

 

 

 

 

 

Diving for Pearls: A Guide to Long Tail Keywords

Long tail keywords หมายความว่าอะไร

.           Long tail keyword คือ keyword ที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง เป็นคำที่มีความหมายชัดเจนประกอบด้วยคำหลายๆคำมารวมกันหรืออยู่ในประโยคก็ได้และมีประโยชน์ต่อการค้นหา

ตัวอย่าง long tail keyword จะเป็นคีย์เวิร์ดที่ยาวเช่น  “best web designer in Nottingham” หรือ “mirror less camera 4k video 2016” หรือ “sailor moon cat costume.”

long tail.gif

แผนภาพรูปแมวที่น่ารักข้างบนนี้แสดงถึงการค้นหา keyword ที่เป็นแบบ long tail keyword แบบ long tail นี้เกิดขึ้นจากการที่มีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไปพิมพ์ค้นหาใน Google เป็นประโยคหรือคำถามมากกว่าแค่ค้นหาจาก keyword แค่คำเดียว นักออกแบบจึงได้เขียนและทำ keyword ที่เป็นแบบ long tail ขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้

นักออกแบบได้คิด keyword ที่ใหม่ แปลกประหลาด และแตกต่างกันออกไปที่คุณอาจจะคิดไม่ถึงเลยว่าผู้เยี่ยมชมจะค้นหาอะไรได้แปลกประหลาดขนาดนั้น แล้วในบทความนี้เราจะนำตัวอย่าง keyword ของ “diving for pearls (การดำน้ำหาไข่มุข)” มาใช้

 

Bronze medal.png

Bronze medal: Build your own keyword (สร้างคีย์เวิร์ดที่เป็นของคุณ)

          การเขียนคีย์เวิร์ดแบบ long tail เป็นการหาและเขียนคีย์เวิร์ดที่ง่ายมาก แค่คุณใช้สมองของคุณคิดอเดียและสิ่งที่คุณจะถามที่เนื้อหาในเว็บไซต์จะมีคำตอบให้กับคถามนั้นขึ้นมา ด้วยขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้

Use your industry knowledge (ใช้ความรู้ของคุณ)

          เริ่มต้นด้วยการเขียนและวาดความรู้ที่คุณมีทั้งหมดลงใส่กระดาษและคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับหรือมีความสัมพันธ์กับคีย์เวิร์ดที่คุณกำลังจะสร้าง เราจะใชช้ตัวอย่างของ pearls หรือ freshwater pears มาแนะนำการทำคีย์เวิร์ดแบบ long tail ให้คุณดู เริ่มต้นกับคำว่า “How do I clean fresh pearls”

Search your keyword (การค้นหาคีย์เวิร์ดของคุณ)

          คุณสามารถค้นหาคีย์เวิร์ดของคุณได้ง่ายๆด้วยการพิมพ์ประโยคหรือคำถามที่คุณต้องการในช่องการค้นหาใน Google แล้วคุณจะได้ตัวอย่างขึ้นเป็นรายการเหมือนในรูปต่อไปนี้
Search keyword.png

แค่นี้เราก็สามารถตั้งคีย์เวิร์ดที่ไม่มีในรายการได้แล้วเราจะเพิ่ม Freshwater pearls price

 

Explore the language of social media (ค้นหาข้อมูลในโซเชียลมิเดีย)

          ค้นหาข้อมูลและสิ่งที่คนกำลังพูดถึงกันในโลก Social network ด้วยการดูโพสต์ที่แชร์มากที่สุดหรือค้นหาโดยพิมพ์คีย์เวิร์ดของคุณในช่องการค้นหาในโซเชียลต่างๆเช่น Facebook, Instagram, Twitter, และ YouTube

การค้นหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้ตั้งไว้ใน Twitter และ Instagram ไม่เจอในสิ่งที่ต้องการเพราะมีผลการค้นหาของเครื่องใช้ที่เป็นมุขหรือเครื่องเพชรพลอยเราจึงเอาเครื่องมือของ Moz (https://moz.com/followerwonk) มาใช้เพื่อช่วยในการหาคีย์เวิร์ด “freshwater pearls”

seo.png

ให้คลิกตรงช่องที่ใส่กล่องสีแดงไว้เพื่อให้วิเคราะห์โปรไฟล์

หลังจากใช้เครื่องมือมาช่วยราจะสามารถดูว่าผู้ใช้งานและผู้เยื่ยมชมเว็บไซต์ tweet อะไรมากที่สุดใน Twitter

tweet.png

 

การค้นหาคีย์เวิร์ดใน YouTube มีประโยชน์เพราะมันช่วยทำให้เราได้ข้อมูลและไอเดียในการสร้างคีย์เวิร์ดแบบ long tail ได้หลายอย่าง

YouTube.png

พอได้ผลลัพใน Google แล้วเราจะเพิ่ม understanding types of pearls และ Difference between saltwater และ freshwater pearls ใส่รายการของเราไว้

 

Ask keyword questions? (ใช้คีย์เวิร์ดที่เป็นคำถาม)

          คุณอาจจะสังเกตเห็นได้ว่าทุกวันนี้มี keyword ที่เป็นคำถามมากขึ้นเรื่อยๆเพราะส่วนมากผู้ใช้จะพิมพ์ในช่องค้นหาเป็นคำถามมากกว่าแค่พิมพ์คำๆเดียว สำหรับเราแล้วคีย์เวิร์ดโปรดในการทำคือคีย์เวิร์ดคำถาม (Keyword questions) ซึ่งคุณสามารถใช้เว็บไซต์ Answer the Public (http://answerthepublic.com/)  เพื่อช่วยให้คุณหาไอเดียทำคีย์เวิร์ดของเว็บไซต์ได้มากขึ้น

Answer the Public

เราจะใช้เว็บไซต์นี้ในการหาคำถามของ freshwater pearls เพื่อนำคำถามที่เว็บไซต์นั้นคิดขึ้นให้มาแล้วนำผลลัพธ์ของคำถามมาใส่รายการของเราไว้เพื่อพิจารณาเพื่อทำเป็นคำถามเว็บไซต์ของเรา แล้วรูปต่อไปนี้เป็นหน้าตาของรายการที่เราได้เขียนเอาไว้:

Keyword

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นของการค้นหา keyword ที่เป็นคำถาม เราจะค้นหาคำถามของคีย์เวิร์ดในหัวข้อต่อไปนี้

 

Silver Metal

 Silver medal: Assess demand and explore topics (สำรวจหัวข้อและประเมินความต้องการของเรา)

          ในหัวข้อนี้เราจะพาเจาะลึกและสำรวจใน keyword ของเว็บไซต์มากขึ้นกับเครื่องมือของเราเอง Keyword Explorer (https://moz.com/products/pro/keyword-explorer) เครื่องมือนี้จะช่วยให้คุณสำรวจหัวข้อหรือ keyword ของคุณได้มากขึ้น ถ้าคุณเพิ่งเริ่มใช้งาน KWE เป็นครั้งแรกคุณจะได้สิทธ์ใช้ฟรีสองครั้งแต่ถ้าใช้มากกว่านั้นคุณต้องเปิดบัญชีใน  Community account (https://moz.com/community/join)

 

Find search volume for your head keyword (หาปริมาณการค้นหาของหัวข้อคุณ)

          เราจะเอาคำว่า “pearls” ใส่ในเครื่องมือของ KWE แล้วมาดูกันว่ามีคนค้นหาใน Google มากแค่ไหน

pearls KWE.png

ในภาพด้านล่างนี้เราจะลองด้วยคำว่า “freshwater pearls”

freshwater pearls KWE.png

ถ้าแบบทดลองใช้ฟรีคุณจะสามารถใช้สำรวจได้แค่นี้แต่ถ้าคุณสมัครใช้เครื่องมือ KWE ของเราคุณจะได้สำรวจเจาะลึกมากกว่าตามในหัวข้อต่อไปนี้

 

Find even more long tail searches (ค้นหาคีย์เวิร์ด long tail มากขึ้น)

ในเครื่องมือ KWE ตรงด้านล่างของ search volume ให้คลิกคำว่า “Keyword Suggestions”

Overview pearls.png

จากรูปข้างบนนี้คุณจะเห็นได้ว่ามีรายการของ keyword ที่แสดงถึงจำนวนผลัพธ์ของการค้นหาที่ด้านข้างที่มีตัวเลือกให้มากถึง 1,000 ตัวอย่าง แล้วในภาพต่อไปนี้เราจะตรวจสอบตัวเลือกที่ได้มาเพื่อนำมาทำคีย์เวิร์ด long tail ของเรา สำหรับเราแล้วเราจะเปลี่ยนการแสดงผลให้ผลลัพธ์ความเกี่ยวเนื่องแสดงขึ้นก่อน

ผลลัพธ์ของความเกี่ยวเนื่อง.PNG

แล้วหลังจากสำรวจเสร็จแล้วให้เปลี่ยน Volume เป็นค่าที่น้อยสุดจะได้ตามภาพด้านล่างนี้

low Volume.png

หลังจากที่คุณได้สำรวจจำนวนของการค้นหาแล้วให้เขียนสิ่งที่มีประโยชน์ใส่ในรายการของคุณไว้แล้วห้ทำต่อใน KWE ด้วยการเลือกประโยคคำถามที่คุณต้องการตามภาพด้านล่างนี้

KWE

มองผ่านข้อเสนอแนะคุณจะเห็นได้ว่ามีคำว่า “cultured” เด้งขึ้นหลายครั้ง

pop up keywords.png

เพื่อดูรายละเอียดของหัวข้อได้เพิ่มเติมเหมือนในตัวอย่างของภาพต่อไปนี้

KWE freshwater pearls.png

เลื่อนลงไปแล้วขยายกลำของคำเพื่อดูผลของความคิดเห็นและการประเมินของหัวข้อ

KWE รายละเอียด.png

หลังจากการเลือกหัวข้อแล้วใส่รายละเอียดของจำนวนการค้นหาแล้วเรามาดูกันว่ารายการของเราเป็นอย่างไรบ้างแล้วในภาพต่อไปนี้

KWE keyword list.png

 

Gold medal

Gold medal: Find out who you’re competing with (ค้นหาคู่แข่งของคุณ)

 

เราไม่ได้ทำธุรกิจหือเว็บไซต์อยู่แค่คนเดียวยังมีคู่แข่งอีกหลายคนที่พยายามทำให้เว็บไซต์ให้ติดอันดับแรกๆใน Google เช่นกัน ดังนั้นคุณควรจะคิดไว้เสมอว่าคุณยังมีคู่แข่งอีกหลายคนและอย่าคิดว่าจะสามารถทำให้เว็บไซต์ติดอันดับแรกๆได้ง่ายๆ

เพื่อเก็บข้อมูลตามเป้าหมาย long tail keyword และทำให้คีย์เวิร์ดสามารถแข่งขันกับคู่แข่งคุณได้ให้ทำตามในหัวข้อต่อไป

 

Manually check the SERPs (ให้ตรวจสอบการจัดอันดับของ SERPs เป็นประจำ)

ตรวจสอบคู่แข่งของคุณจากการค้นหาใน Google แต่อย่าลืมที่จะลงชื่อออกก่อน แล้วคุณจะได้ผลลัพธ์เว็บไซต์คู่แข่งของคุณ เราจะเริ่มต้นด้วยการค้นหาผลลัพธ์ที่เป็น organic ของ “freshwater pearls”

Check SERPs.png

จากภาพของการค้นหาในหน้าแรกคุณจะเห็นได้ว่าไม่มีเว็บไซต์ที่เป็น organic เลยต้องเลื่อนลงมาตั้ง 2.5 เซ็นติเมตร  แต่อยากให้คุณลองติดติดตั้ง Mozbar (https://moz.com/products/pro/seo-toolbar) ไว้ดูคุณจะสามารถดูข้อมูล back-link ได้

Mozbar.png

คุณจะเห็นได้ว่าการใช้ Mozbar จะช่วยแสดงถึงข้อมูลของเว็บไซต์มากขึ้นที่จะบอกถึง back-link ของเว็บไซต์นั้น

Morbar 2

เมื่อคุณได้เจาะลึกในคีย์เวิร์ดแบบ long tail ของคุณมากขึ้นคุณจะเห็นเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นมากขึ้นดังนั้นคุณควรจะเข้าไปดูเนื้อหาของเว็บไซต์อื่นๆ

  การค้นหาเนื้อหาของเว็บไซต์อื่นแล้วคุณจะค้นพบในสิ่งต่อไปนี้

  • เนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์มากแค่ไหน
  • เนื้อหาที่มีความน่าสนใจ
  • วันที่เนื้อหาเผยแพร่
  • วันที่เว็บไซต์สร้างขึ้นมา
  • บล็อกของเว็บไซต์อัพเดทบ่อยแค่ไหน
  • เว็บไซต์มี link เชื่อมโยงกี่ link ด้วยการใช Open Site Explorer ดู
  • เวบ็็บไซต์มี tweets หรือ likes มากเท่าไร

 

Keyword Explorer leaps to our rescue again (ใช้ Keyword Explorer เพื่อช่วยเราทำ)

          เรียกใช้การค้นหาของคุณแล้วคลิกที่ “SERP Analysis” เพื่อดูว่าหน้าแรกเป็นอย่างไรย้าง

SERP Analysis.png

เครื่องมือจะแสดงผลเหมือนในภาพด้านบนนี้ซึ่งจะบอแกผลวิเคราะห์ของหน้าเว็บไซต์

หลังจากการสำรวจและค้นหาคีย์เวิร์ดจาก KWE เรียบร้อยแล้วเราแนะนำให้คุณสมัครใช้ Moz Pro เพื่อค้นหาคีย์เวิร์ดมากถึง 5,000 ตัวเลือก และเราจะเลือกคีย์เวิร์ดใส่รายการของเราเพิ่มไว้

select keyword KWE.png

เมื่อเลือก keyword เสร็จให้เลือนขึ้นไปข้างบนแล้วคลิกึคำว่า Keyword list ตรงซ้ายมือเพื่อเปิดรายการ keyword ของคุณ

Keyword list

เมื่อคลิกที่ตัวเลือกแล้วเครื่องมือจะขยายคีย์เวิร์ดให้ เหมือนในภาพต่อไปนี้:

KWE speard list.png

จากภาพจะเห็นได้ว่าคุณสามารถเอาค่าของผลลัพธ์แต่ละอย่างมาเปรียบเทียบกันได้ด้วย

 

How to compare apples with apples (วีธีการเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดที่เหมือนกัน)

          เราได้รับการช่วยเหลือในการเปรียบเทียบของ keywords โดยทีมงานของ Moz เราควรจะเลือกคีย์เวิร์ดระหว่างคำไหนมาใช้

compare

compare 2.png

สำหรับ long tail keyword จะมีค่า Volume ที่ต่ำ มีความยุ่งยากที่ต่ำแต่มีโอกาศที่จะติดในอันดับของ SERPs ได้สูง แต่คุณก็อย่าเพิ่งมั่นใจว่าจะทำให้ keyword ติดอันดับได้ง่ายๆ คุณต้องพิจารณา long tail keyword ของคุณให้มากขึ้น

ในรูปต่อไปนี้เราจะนำคีย์เวิร์ดมาเปรียบเทียบกันดูระหว่าง freshwater and cultured pearls และ how much are freshwater pearls worth.

Overview

Overview 2.png

จากภาพด้านบนคุณจะเห็นได้ว่า Volume ของ keyword มีค่าเท่ากัน, มี Opportunity (โอกาศ) ที่ต่ำ และ Potential (ความเป็นไปได้) แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกับมันเพราะคุณยังสามารถทำคีย์เวิร์ดให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในภาพต่อไปนี้เป็นรายการของ keyword ที่ได้รวบรวมไว้:

last keyword list

 

platinum

Platinum level: ขั้นตอนสุดท้าย

 

            หลังจากที่คุณได้อ่านเทคนิคในบทความนี้เรียบร้อยแล้วเราอยากจะมอบรางวัลให้คุณเป็นเทคนิคสุดท้ายในการทำ long tail keyword ที่ผ่านมาคุณได้ทำการค้าหาวิจัยคีย์เวิร์ดและได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเนื้อหาของคู่แข่งแล้ว

เราอยากจะแนะนำให้คุณสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพสูง มีความน่าสนใจ โดดเด่น และอัพเดทเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอสามารถอ่านเกี่ยวกับเนื้อหาได้เพิ่มเติมที่ (https://moz.com/beginners-guide-to-content-marketing) และถ้าคุณอยากได้รายละเอียดที่บรรยายเกี่ยวกับการทำเนื้อหาและใช้คีย์เวิร์ดที่โดดเด่นสามารถอ่านต่อได้ใน Rand’s 10x Whiteboard Friday (https://moz.com/blog/why-good-unique-content-needs-to-die-whiteboard-friday)

 

Cr. (https://moz.com/blog/diving-for-pearls-guide-long-tail-keywords-next-level)

 

On-Page SEO in 2016: The 8 Principles for Success – Whiteboard Friday

 

          การทำ On-Page SEO ไม่ได้มีขั้นตอนแค่ตรวจสอบรายการที่เราได้ทำไป เพราะตั้งแต่ 2016 เป็นต้นไปมันจะเพิ่มความยุ่งยากขึ้นมาด้วยการแก้ไขของส่วนที่เป็ฯ on-page ให้เหมาะสมที่สุด บทควงามนี้เป็นบทความใน Whiteboard Friday ที่จะอธิบายถึงสอ่งสำตัญ 8 อย่างที่จะทำให้ SEO ประสบความสำเร็จ

One page SEO.jpg

Video Transcription

สามารถชมการบรรยายของบทความนี้ได้พร้อมคำอธิบาย (video transcription) ได้ที่เว

บไซต์ (https://moz.com/blog/on-page-seo-8-principles-whiteboard-friday) ต่อไปนี้เราจะมาพูดถึง 8 ข้อที่สำคัญในการทำ on-page SEO

 SEO 1.jpg

  1. Fulfill the searcher’s goal and satisfy their intent (สนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายของผู้ค้นหา)

      ก่อนอื่นคุณควรจะค้นหาเป้าหมายของกลุ่มผู้ค้นหาว่าต้องการอะไรแล้วผลการค้นหาที่ได้มีความพึ่งพอใจหรือเปล่า แล้วความพึ่งพอใจของผู้ค้นหาเป็นสิ่งที่นักออกเว็บไซต์เพราะส่วนมากผู้ค้นหาจะเลือกแล้วคลิกที่เว็บไซต์ที่หัวข้อ/ชื่อเรื่องตรงตามเป้าหมายที่เขาต้องการ

เราจะยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีผู้ใช้ค้นหาเสื้อผ้า/ชุดที่เป็นทางการ และผู้ค้นหาเหล่านั้นต้องการชุดใส่ไปงานแต่ที่ไม่ใช่ชุดเจ้าบ่าวหรือชุดเจ้าสาวแล้วผลลัพธ์ที่ได้มาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่เขาต้องการ ในกรณีของผู้ค้นหากลุ่มนี้จะทำให้เรารู้ว่าผู้ค้นหายังต้องการอย่างอื่นอีกด้วย

จึงมีคนคิดขึ้นมาว่าทำไมเราไม่ทำเพจหรือเว็บไซต์ให้ rank แล้วติดอันดับที่สามารถบอกคำแนะนำหรือออกแบบและจัดชุดไว้ให้คุณเลือก และการจะสร้างเว็บไซต์แบบนี้ขึ้นมาได้จะต้อนค้นหาข้อมูลชองกลุ่มเป้าหมายและข้อมูลเนื้อหาสำหรับการเลือกชุดใส่ไปงานแต่งงาน

ดังนั้นเราจึงได้สร้างเว็บไซต์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชายและเขียนเนื้อหาพร้อมคำแนะนำในเว็บไซต์เพื่อใส่ keyword ที่เป็นทั้งคำถามด้วยแล้วยิ่งเราตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้เป็นผู้ชายแล้วมี content ที่เขากำลังค้นหาอยู่เรามีโอกาศที่จะติดอันดับของการค้นหาสูงอย่างแน่นอน

 

SEO speed

  1. Speed, speed, & more speed (เพิ่มความรวดเร็วในผลลัพธ์)

          ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ไม่มีความซับซ้อนอะไรเพราะเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดเพราะผู้ใช้งานทุกคนต้องรู้อยู่แล้วว่า Google ต้องการคำอธิบายอย่างไรบ้าง ที่เรารู้คือเว็บไซต์ที่มีหน้าเพจยาวเกินไปจะโหลดช้าแล้วถ้าค้นหาจากโทรศัพท์ยิ่งจะช้ากว่าเดิมอีก ดังนั้นเราควรจะหลีกเลี่ยงการสร้างเพจที่มีความยาวมากเกินไป ควรจะทำตามกฏเกณฑ์ที่ Google ได้ตั้งไว้เพื่อให้เว็บไซต์มีการโหลดที่เร็วตามที่เราต้องการ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยก็ตาม เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้

 

SEO design.jpg

  1. Create trust & engagement through UI, UX, and branding (ใช้ UI และ UX ออกแบบสัญลักษณ์ให้กับแบรนด์)

UI หรือ User Interface คือ ส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น เมนู ปุ่ม ฟอร์มต่างๆ หรือการจัดวางภาพ ขนาดตัวอักษร ของแต่ละหน้า เป็นต้น

UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน จากระบบที่ได้พัฒนา ว่าใช้งานง่ายไหม พอใจไหม เปรียบเหมือน การทดลองขับรถ หรือใช้รถไปในช่วงเวลาหนึ่งแล้วรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจในรถยี่ห้อนั้น ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์หรือแบรนด์ของคุณด้วย การออบแบบด้วย UI, UX จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแบรนด์ของคุณ

ก่อนที่จะออกแบบสัญลักษณ์ให้กับเว็บไซต์หรือแบรนด์ คุณต้องเขียนคำถามให้กับเว็บไซต์ตัวเองก่อนแล้วมาดูว่าในแต่ละข้อนั้นคุณทำได้หรือยัง

–  มีคนรู้จักโดเมนของคุณหรือไหม

– คุณมีการออกแบบด้วย UI แล้วนำไปใส่ในเว็บไซต์เพื่อเพิ่มความน่าเชิ่อได้หรือไม่ เช่นกับการใส่รูปภาพ/ภาพพื้นหลังให้กับเว็บไซต์ หรือ การออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ด้วย UI ล้วนทั้งหมดนี้ก็อยู่ในคำถามว่า “เว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือมากพอไหม”

–  คุณสามารถเข้าถึงได้หรือไม่? เราหมายถึง การใช้งานจาก navigation และจากมุมมองจาก content ของเว็บไซต์ด้วย

– หวังว่าแบรนด์/เว็บไซต์ของคุณได้รับสัญญาณที่บงบอกว่ามีผู้คนเริ่มรู้จักทากขึ้นจากการออกแบบด้วย UI ถ้าคุณมีลัญลักษณ์ที่สามารถทำให้คนจดจำได้ง่ายจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เว็บไซต์หรือแบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

 

avoid pop-ups

  1. Avoid elements that dissuade visitors (หลีกเลี่ยงองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เยี่ยมชมถูกห้ามเข้า)

คุณต้องหลีกเลี่ยงการใส่องค์ประกอบที่จะห้ามหรือดึงดูดความสนใจจากผู้เยี่ยมชมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต องค์ประกอบที่จะดึงดูดความสนใจของผู้เยี่ยมชมได้คือ การที่ pop-up ที่ขึ้นมาตอนที่ผู้เยี่ยมชมกำลังจะคลิกเข้าที่เว็บ เช่น การมี pop-up ขึ้นมาถามว่า “คุณอยากครองชีวิตคู่ของคุณไว้ไหม” บางคนเห็นแล้วคงตอบว่าใช่แล้วต้องดาว์นโหลดฟอร์มซึ่งลิงค์จะส่งผู้เยี่มชมไปที่เว็บไซต์ของ pop-up นั้นทันที แล้วถ้าผู้เยี่ยมชมคลิกที่คำว่า “ไม่สนใจ” ก็จะมี pop-up อันใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ผู้เยี่ยมชมเลิกสนใจที่จะเข้าเว็บไซต์ของเขาทันที

Overlay (ข้อมูลทับซ้อน) มีหลายรูปแบบของการแสดงผลมีทั้งข้อมทูลทับซ้อนที่เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์แต่ในบางกรณีผู้ใช้งานนำไปทำเป็นข้อมูลทับซ้อนที่เป็น pop-up ทับซ้อนข้อมูลของเว็บอื่นๆ ดังนั้นเราต้องดูแลเว็บไซต์ในทุกรายละเอียดแล้วอย่าให้ pop-ups มารบกวนและดึงดูดความสนใจจากผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้

แต่เราต้องระวังการ pogo sticking มันคือสิ่งที่เสี่ยงในอันดับของ SERPs การ Pogo sticking คือการที่เราคลิกเว็บไซต์นี้แหละ คือเรากำลังค้นหาข้อมูลอะไรแต่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ เราก็จะไม่คลิกที่ลิงค์ในหน้านั้นแต่จะกดปุ่มกลับแทน เขาเรยว่าการ pogo sticking

 

Keyword targeting

  1. Keyword targeting (กำหนดเป้าหมายของคัย์เวิร์ด)

การกำหนดเป้าหมายของ keyword ยังเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและจำเป็นที่ต้องทำให้กับแบรนด์หรือเว็บไซต์ การกำหนดเป้าหมายของคีย์เวิร์ดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของวิธีการใส่จากอดีตค่อนข้างมาก เมื่อคุณกำหนดเป้าหมายของ keyword ของคุณได้แล้วให้คุณใส่ keyword ในเนื้อหาให้เหมาะสมอย่าอัดแน่นจนเกินไป

Title element (องค์ประกอบของชื่อเรื่อง)

สิ่งแรกที่เร่าจะเริ่มทำในการกำหนดคีย์เวิร์ดคือการชื่อเรื่องและกำหนดลักษณะการแสดงผลให้ถูกต้องตามหลักการของ SEO เริ่มต้นจากการใช่ H1 tag, H2 tag ให้กับชื่อเรื่อง/หัวเรื่อง ของ content ในเพจ/เว็บไซต์ของทั้งหมดที่มีอยู่ ควรจะใส่ตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ให้กับชื่อเรื่องหรือ keyword ที่สำคัญในเนื้อหาของเพจ แต่คุณควรจะหลีกเลี่ยงการใส่ลิงค์ในหัวเรื่องหรือคีย์เวิร์ดที่ใส่ตัวหนาไว้เพราะเมื่อผู้เข้าเยี่ยมเว็บไซต์คลิกแล้วถูกส่งไปที่ลิงค์นั้นแล้วผู้เยี่ยมชมกดปุ่มกลับทันทีซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่ออันดับ

Page content, external anchor links, alt attributes, and URL (เนื้อหาในเพจ, ลิงค์ภายนอก, คำอธิบายของภาพ และ URL)

ทุกคุณต้องการสิ่งเหล่านี้ใน content ของเพจ/เว็บไซต์ อย่างแน่นอน และถ้าคุณทำได้คุณคงอยากจะให้มี anchor links ลิงค์ไปที่เพจ ยกตัวอย่างเช่น home page ของเราเกี่ยวกับงานแต่งงาน แล้วมีคลิปสัมภาษณ์ที่เราได้เพิ่มไว้ในประวัตแล้วเราจะทำให้เป็นลิงค์เพื่อลิงค์เข้ามาที่ external anchor text แล้วถ้าเราอยากจะให้ภาพในหน้าเว็บมีชื่อเหมือนกันและติดอันดับใน search engine ได้ก็เพิ่มท alt attribute ให้กับภาพ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการใส่คีย์เวิร์ดหรือคำหลักใน URL ของคุณด้วย

Image file name (ชื่อไฟล์รูปภาพ)

การใส่ชื่อให้กับรูปภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่งถ้าคุณต้องการให้รูปภาพในเว็บไซต์ติดอันดับใน Google ได้ คุณก็ต้องตั้งชื่อไฟล์ภาพไว้ให้ทุกภาพ

Internal links (ลิงค์ภายใน)

ลิงค์ภายใน  คือ การลิงค์ไปหน้าอื่นๆ ในเว็บของคุณ ลิงค์ชนิดนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าชมย้ายไปอ่านเนื้อหาหน้าอื่นๆ ซึ่งมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันและผู้เข้าชมจะถูกส่งไปที่หน้าใหม่เมื่อเขาคลิกที่ลิงค์นั้น

ให้คุณทำตามขั้นตอนในการหาและใส่คีย์เวิร์ดตามที่ได้กล่าวมาคุณจะกำเป้าหมายและทำให้คีย์เวิร์ด ติดอันดับได้

 

Related keywords

  1. Related topics targeting (กำหนดเป้าหมายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกัน)

Google ได้ให้ความสำคัญกับ keyword สำหรับเว็บไซต์หรือเนื้อหาต่างๆอย่างมากแล้วรองจากนั้นคือความหมายที่เหมื่อนหรือเกี่ยวข้องกับ keyword นั้นๆก็สำคัญเช่นกัน ดังนั้นคุณต้องกำหนดเป้าหมายของ keyword คุณให้ชัดเจนและหาคำเกี่ยวเนื่องไว้ด้วยเพื่อใส่ในเนื้อหาและชื่อเรื่องของหัวข้อจะได้ทำให้ search engine สามารถค้นพบเว็บไซต์ของเราได้เมื่อมีคนค้นหาคำเกี่ยวเนื่อง

Google ได้เพิ่มเงื่อนไขในการใส่คีย์เวิร์ดด้วยการตั้งเป็นคำถามในกาค้นหาด้วย ดังนั้นเมื่อคุณตั้ง keyword ให้กับเว็บไซต์หรือบล็อคให้คุณคิดและค้นหาข้อมูลว่าจะมีคนค้นหาคีย์เวิร์ดของคุณด้วยคำถามอะไรบ้างแล้วนำไปใส่ในคีย์เวิร์ดเพื่อค้นหาได้ใน search engine

เพราะฉะนั้นการเป็นนัการตลาดการค้นหา ผู้สร้าง content เราต้องนึกถึงเสมอว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้างแล้วมีประโยคคำถามที่คลายเคียงของเรามากแค่ไหน

 

Snippet optimizinng

  1. Snippet optimization (ตัวเลือกของการมช้ snippet)

          การมีเพจหรือบล็อคเราไม่ได้ต้องการแค่ให้ติดอันดับแต่เราต้องการให้ผู้ที่เข้าชมคลิกเข้าบล็อคเราในหน้าการค้นหาด้วย แล้วถ้าเราติดในอันดับที่สี่เรามีอัตรา click-through 6% ไม่ใช่ผลที่ดีเลยแม้จะอยู่ในอันดับที่สี่ก็ตามเพราะอัตราการคลิกเข้าชมเว็บไซต์น้อยเกินไป แต่ถ้ามีอัตราคลิกถึง 11% แสดงว่าเว็บเราเพิ่งได้อัตราคลิกครึ่งหนึ่ง ดังนั้นเราต้องเขียน description ใน snippet ให้มีความสนใจที่จะสามารถดึงดูดให้ผู้ใช้คลิกเข้ามาชมเว็บไซต์ให้ได้

เราต้องการที่จะมี snippet ที่เหมาะสมและดีที่สุดใน SERP เพื่อให้ได้อัตราคลิกที่ดีของเว็บไซต์หรือเพจของเนื้อหาที่ติดอยู่ในอันดับ SERP ได้ เราได้เอาเทคนิคในการเขียน snippet ของ “what to wear to a formal wedding,” จาก randsfashion.com และยังเป็น mobile-friendly ด้วย

On-page elements

          ส่วนประกอบในเว็บไซต์ที่ต้องใส่ในเพจเสมอคือ ชื่อเรื่อง/หัวข้อ (title) และคำอธิบาย (meta description) เว็บ randsfashion.com  มีรูปแบบ URL ที่ง่ายในโฮมเพจของเว็บที่ทำให้มีผลดีต่อ Google เพราะเว็บไซต์ของคุณไม่มีความยุ่งยากและง่ายในการจดจำ

Publication date (วันที่เผยแพร่)

          วันเวลาที่เผยแพร่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง การที่เราอัพเดทวันที่ให้ใกล้กับปัจจุบันที่สุดยิ่งดีเพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่จะค้นหาสิ่งที่ใหม่ๆเช่นกับตัวอย่างที่ตั้งไว้คือ จะค้นหาว่าควรใส่ชุดไรไปงานแต่งวใน 2016 “types of wedding formalwear 2016” ดังนั้นคุณควรจะอัพเดทเนื้อหาในเว็บไซต์ให้เป็นประจำ เพราะ Google จะให้คะแนนและเอาเว็บไซต์ที่อัพเดทวันที่ล่าสุดให้ติดในอันดับที่ดีกว่า

Use of schema (การใช้โครงสร้างของรูปแบบ)

          การใช้โครงสร้างและรูปแบบให้กับเว็บไซต์เป็นขั้นตอนในการทำเว็บไซต์ที่สำคัญมากในการเริ่มต้นทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณทำเว็บเกี่ยวกับข่าวคุณก็เลือกรูปแบบที่ออกแบบมาเพื่อข่าวโดยเฉพาะหรือเว็บไซต์แสดงภาพก็ควรเลือกรูปแบบที่ออกแบบมาให้ แต่เว็บไซต์ที่มีแค่วิดีโอ Google ไม่นิยมให้ใช้เว็บอื่นนอกจาก YouTube ดังนั้นคุณควรจะเลือกรูปแบบของโครงสร้างให้เหมาะสมกับแนวเว็บ

Domain name (ชื่อโดเมน)

          การตั้งชื่อโดเมนเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างเว็บไซต์ ดังนั้นคุณต้องพยายามตั้งชื่อเว็บไซต์ให้เรียบง่ายและสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่เข้เยี่ยมชมแล้วคลิกเข้าเว็บไซต์ของคุณได้

Content format (รูปแบบเนื้อ)

          รูปแบบของการวางเนื้อหาในเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ แล้วถ้าคุณตั้งคำถามในเนื้อหาคุณแล้วตั้ง keyword ให้กับคำถามนั้นด้วยจะเป็นผลดีในการติดอันดับใน SERPs เพราะบอทของ Google จะตรวจสอบเนื้อหาของเว็บไซต์เป็นอันดับแรกและตรวจสอบเป็นประจำ ดังนั้นคุณจะต้องวางรูปของเนื้อหาตามหลักการของ SEO เพื่อให้ติดอันดับใน SERPs ได้

ข้อแนะนำในการวางรูปแบบของเนื้อหาคือ วางเนื้อหาให้เป็นรายการ ตาราง หรือใส่ลำดับขั้นตอน และใส่ชื่อเรื่อง/คำอธิบายของภาพต่างๆที่ใส่ไว้ในเนื้อหาด้วยเพื่อให้บอทของ Google ตรวจสอบได้แล้วนำไปใส่ในการค้นหาของ SERPs ได้

 

Unique value

  1. Unique value + amplification (ทำให้มีค่าเฉพาะและขยายความ)

          ทั้งหมดในบทความนี้ก็เป็นคำแนะนำในการทำ on-page ให้เหมาะสมที่สุดในปี 2016 นี้ แล้วสิ่งที่นักออกแบบเว็บไซต์จะคิดคือ เราต้องการให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับได้อย่างไรและมีโอกาสที่จะติดในอันอัดมากแค่ไหน

สำหรับเราการทำให้เซ็บไซต์ติดอันดับได้ไม่ใช่สิ่งที่ยากแต่เราต้องการทำให้เว็บไซต์ติดในอันดับที่สูงๆ เช่นในตำแหน่งที่ดี ดีมาก หรือ พิเศษที่เป็นหนึ่งเดียวเหมือนกับในภาพข้างบนหัวข้อที่แสดงการาฟของอัตราการติดอันดับของเว็บไซต์

ถ้าคุณทำตามหลักเกณฑ์ของ SEO ตาม Whiteboard Friday ใน Moz.com คุณอาจจะมีโอกาศทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับได้เร็วกว่าทำตามเทคนิคต่างๆที่อยู่ในเว็บไซต์อื่นๆ

การทำให้เว็บไซต์ติดอันดับไม่ใช่แค่ต้องมีชื่อโดเมนที่ดึงดูดความสนใจของผู้ที่เข้าชมได้แต่ยังมีส่วนประกอบต่างๆที่อยู่ในเว็บไซต์ ไดแก่ โครงสร้างเว็บไซต์ รูปแบบของโครงสร้าง รูปแบบการวางเนื้อหา ชื่อเรื่อง คำอธิบาย ชื่อของวิดีโอที่ใส่ในเว็บไซต์ และ รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ SEO ของเว็บไซต์ให้ติดอันดับใน SERPs ได้

 

(CR. https://moz.com/blog/on-page-seo-8-principles-whiteboard-friday)

 

 

         

 

         

 

 

 

 

 

     

         

Optimizing for Accessibility + SEO: Images, Video and Non-Text Elements

ตัวเลือกสำหรับการออกแบบ SEO ในส่วนของ รูปภาพ วิดีโอ และข้อความ 

 

Images and non-text elements (รูปภาพ และ ส่วนประกอบที่ไม่ได้เป็นข้อความ)

         

          การใส่รูปภาพในเว้บไซต์หรือเพจอาจจะทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นในหลายด้านแต่โชคดีที่เรามีเครื่องมือเข้ามาช่วยในส่วนของการใส่และลงรูปภาพให้เป็น SEO ที่มีการใส่โค้ดผิด รูปภำที่เป็นวงกลม และในส่วนที่ไม่ได้เป็นข้อความ

ตัวอย่างของรูปภาพและ non-text elements คือ

– รูปภาพ, กราฟ, ชาร์ต, อักษรศิลป์ (word art), ส่วนตกแต่งและภาพพื้นหลัง, รูปภาพจากเว็บแคม, รูปถ่าย

– Infographics

– Image maps (ภาพแผนที่)

– Animations (แอนิเมชั่น)

– Graphic Buttons (ปุ่มกดกราฟฟิก)

– Captchas

ต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบของ non-text ที่คุณจะสามารถปรับเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นได้

 

Alt attributes       

          ภาพ alt attributes ใน SEO จะใช้เพื่อตั้งชื่อรูปภาพหรืออธิบายถึงรูปภาพและหารตั้งชื่อให้รูปภาพที่เราใส่ในเว็บไซต์จะช่วยให้บอทของ Google ค้นเจอรูปของเราได้ง่ายขึ้นแล้วเรายังสามารถเพิ่มตัวอักศรศิลป์ให้กับรูปภาพเพื่ให้ผู้ที่เข้าถึงเว็บเห็นชื่อรูปได้ชัดเจน เช่นในรูปต่อไปนี้:

Alt attribute.PNG

การเพิ่ม alt attributes เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับ SEO แต่มันก็ยังมีบางอย่างที่คุณจะต้องนึกถึงและตรวจสอบขั้นตอนต่อไปนี้ก่อนที่จะตั้ง alt attributes สำหรับผู้ที่ใช้งาน

 

Alt attribute do’s and don’ts:

ไม่ใส่ alt attribute ให้กับรูปภาพที่ใช้ตกแต่ง: Decorative images (รูปภาพที่ใช้ตกแต่ง) เช่นเมฆที่ใช้ตกแต่งในเว็บไซต์ประกันภัยไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อเพื่อเรียก traffic เข้าเว็บไซต์ การใส่รูปตกแต่งเว็บไซต์บางที่ไม่จำเป็นต้องใส่ alt attribute สำหรับทุกรูปให้ทำเป็น alt=”” (null)

ไม่ใช้ alt เมื่อมี link ที่เป็นข้อความ: ถ้ารูปภาพเป็น link และมันมี link ข้อความที่ติดอยูข้างรูปภาพให้ใช้ alt=”” (null) สำหรับรูปภาพ แล้วให้ link ที่เป็นข้อความส่งตรงไปยังเว็บไซต์ที่ได้ตั้งไว้หรือส่งไปที่หัวข้อ การทำแบบนี้จะช่วยให้ SEO ติดอันดับได้ง่ายขึ้นแต่ในกรณืแบบนี้เราแนะนำให้ใช้ alt attributes สำหรับรูปภาพที่จะส่ง link ไปยังเพจของเว็บไซต์ที่คุณต้องการให้ SERPs เจอคุณ

ให้ตั้งชื่อ alt สั้น หรือ เพิ่มคำอธิบายภาพ (captions): เราแนะนำให้คุณตั้ง alt attribute สั้นและมีความหมายตรงกับรูปให้พอเข้าใจก็พอแล้วเราะไม่แนะนำให้คุณตั้ง alt attribute เกิน 125 ตัวอักษร แต่ถ้าคุณมีรายละเอียดที่ยาวเกี่ยวกับรูปภาพที่ใส่ลงในเว็บไซต์ให้คุณเขียนเป็นข้อความและใส่ลงในเพจเลยไม่ตั้งไปตั้งเป็น alt

อย่าอัด keyword ใส่มากจนเกินไป-เขียนให้เป็นธรรมชาติ: ไม่ควรใส keyword ใน alt attribute มากจนเกินไป เพราะมันจะทำให้ SEO ของเว็บไซต์คุณดูมีความสับสนเพราะคุณยัด keyword ใส่กับรูปภาพตกแต่งมากเกินเพราะจะทำให้บอทของ Google สับสนว่าคุณต้องการเอารูปให้ติดอันดับหรือต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับมากกว่ากัน

 

Image captioning (การเพิ่มคำอธิบายของภาพ)

          Google สามารถจับกลุ่มข้อความที่อยู่ใกล้รูปภาพเพื่อให้ attribute ข้อความเหล่านั้นเป็นคำบรรยายของรูปภาพได้โดยการเพิ่มคำอธิบายภาพ (captions) ขึ้นให้เอง ดังนั้นการมีข้อความใกลฃ้กับรูปภาพอาจมีผลกระทบในอันดับได้

Image captioning do’s and don’ts:

ไม่ใส่ alt attribute ถ้ารูปภาพมีคำบรรยาย: ถ้ารูปภาพของคุณมีคำบรรยายให้หลีกเลี่ยงการใส่ alt attribute ให้กับรูปภาพนั้นแม้ว่าการทำแบบนี้จะช่วยในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์แต่มันจะมีผลกระทบต่อการติดอันดับของ SERPs ได้

ให้บรรยายเพิ่มเติมในคำอธิบาย (captions) 

ตัวเลือกเพิ่มเติม: ใช้ <figcaption> tag: <figure> และ <figcaption> tags สามารถใช้สำหรับรูปภาพหรือในส่วนต่างๆของเพจ <figure> ตามหลักการของภาษา HTML แล้ว หมายถึง การแสดงให้เห็นเป็นภาพ ส่วน <figcaption> นั้น คือ การอธิภายสิ่งที่เป็นภาพนั้นเพิ่มเติม ดังนั้นการใส่รายละเอียดเพิ่มเติมพวกนี้อาจจะช่วยในอันดับของเว็ฐไซต์ได้

 

Text-as-images

            เหตุผลเดียวกันกับการเข้าถึงข้อมูลของ SEO คือต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความเป็นภาพ ควรจะหลีกเลี่ยงให้ภาพมีคำบรรยายติดอยู่บนภาพเพราะจะทำให้บอทของ Google อ่านข้อมูลไม่ได้ เพราะการมีข้อความในรูปภาพอาจจะทำให้ข้อความเล็กมากแล้วผู้ใช้งานต้องใช้การขยายเพื่อให้อ่านได้ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานอ่านได้ยาก

 

Text-as-images do’s and don’ts:

– ไม่ใส่ข้อความที่สำคัญในรูปภาพ: แต่ถ้าคุณต้องการอธิบายความสำคัญของรูปภาพให้ตั้ง alt attribute แทนการใส่ข้อความนรูปภาพ

พิจราณาข้อความที่แท้จริงให้เป็นทางเลือก: สำหรับข้อความที่คุณต้องการให้แสดงผลตามที่คุณได้วางไว้ให้ใช้ HTML + CSS หรือใช้ SVG (Scalable Vector Graphics)

 

Infographics

          การใช้ Infographic เป็นสิ่งที่มีความยอดนิยมในการทำ SEO เพื่อให้ link ของเว็บไซต์มีความสนใจมากขึ้น

สำหรับการเข้าถึงข้อมูลและแสดงผลเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจข้อมูล/เนื้อหาได้ง่ายขึ้น Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด และให้คุณพิจราณาการใช้สีสำหรับผู้ที่ตาบอดสีด้วยจะได้ไม่มีปัญหาเมื่อมีผู้ใช้งานที่ตาบอดสีเข้ามาอ่านหรือใช้งานบนเว็บไซต์

การใส่และตั้งชื่อของ <Infographic> tag จะช่วยให้คุณเพิ่มคำอธิบายได้ยาวมากขึ้นจะได้มีคำอธิบายอย่างละเอียด (คุณสามารถพิจราณาการเพิ่ม Infographic ได้ตามข้อในด้านล่างนี้)

 

Infographic do’s and don’ts: ื

– ไม่อธิบายรายละเอียดทั้งหมดใน alt attribute: ใช้ alt attribute ตามหลักเกณที่ควรใช้ไม่งั้นก็ให้ตั้งรายละเอียดที่ยาวเป็น description เลย

ปฏิบัติไปตามความต้องการในความคมชัดของสี: ให้คิดและวางแผนไว้ล่วงหน้าสำหรับสีที่จะใช้ใน infographic ที่จะใส่ไว้บนเว็บไซต์

พิจราณาการเพิ่มคำอธิบายด้วย ARIA: ARIA (Accessible Rich Internet Application) attribute เป็นการเพิ่มคำอธิบายสำหรับรูปภาพที่เป็น alt attribute ให้บันทึกส่วนนี้ไว้เพราะบางทีรูปภาพ alt ที่มีข้อความอาจจะเกิดการอธิบายซ้ำได้

การใช้ longdesc attribute: การตั้งชื่อภาพด้วย longdesc attribute นี้ จะช่วยส่ง link ให้กับบอทเพื่อที่จะอ่านคำอธิบาย (description) ที่ยาวสำหรับภาพต่างๆได้ (แม้ว่าจะอยู่ในเพจหรือในเพจอื่น) แต่ longdesc attribute ไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีและไม่ได้อยู่ในเทคนิคของการทำ SEO

–  พิจราณาการเลือกซ่อนข้อความ: สามารถดูตัวอย่างการซ่อนข้อความได้ที่ (https://developer.yahoo.com/blogs/ydn/clip-hidden-content-better-accessibility-53456.html) ที่ซ่อนไว้เป็น CSS clip ใน  iFrame HTML

ใช้โปรแกรม CSS สร้าง infographic ของคุณ: ถ้าใช้โปรแกรมนี้สร้างจะเป็นทางออกที่ดี ด้านล่างนี้เป็นภาพ infographic 2  ภาพที่แสดงผลใน Google ภาพแรกเป็นไฟล์ภาพที่มีข้อความและมีลิงค์ในด้านล่างของภาพ ส่วนอีกภาพเป็น infographic ที่ข้อความมี index และมี links ที่สร้างผ่าน HTML+CSS

ภาพด้านซ้าย: Infographic เป็นภาพ (ในหน้าเพจยังให้ข้อมูลของข้อความใน infographic ในเพจด้วย)

ภาพด้านขวา: ภาพ infographic เป็น HTML ที่ออกแบบโดย CSS (http://throup.org.uk/infographic/)

Infographic by CSS

คุณจะเห็นได้ว่าภาพเหมือนกันมากจนแยกความแตกต่างไม่ได้เลย

เราจะมาดู code ของภาพ infographic ที่แสดงผลใน Google cache ว่าจะออกมาในรูแปบบไหนในภาพด้านล่างนี้

ภาพด้านบน: Google cache (บางส่วน) ข้อความของภาพ infographic จะปรากฏขึ้นที่เพจของภาพ infographic

ภาพด้านล่าง: Google cache (บางส่วน) ของข้อความ infographic ในภาพ infographic จะอยู่ที่ CSS infographic page

infographic

infographic css.jpg

ทั้งสองแบบนี้เป็นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาที่สามารถอ่านได้เลย รูปแบบที่ทำโดย CSS ไม่ได้ทำสำเนาของข้อความไปใส่เป็นเนื้อหาในเว็บไซต์ให้กับผู้ที่มาเข้าชมได้อ่าน

ส่วนในเวอร์ชั่น CSS รูปแบบ ขนาดของหัวข้อ และขนาดของตัวอักษร จะจัดวางได้ดีกว่า เพื่อให้ผู้ที่ใช้งานหรือผู้เยี่ยมชมอ่านได้ง่ายขึ้น สามารถดูตัวอย่างของ hidden text ได้ที่ https://moz.com/blog/seo-accessibility-formatting-and-links

 

Image & non-text element tools & resources (เนื้อหาและข้อมูลเพิ่มเติ่มสำหรับองค์ประกอบภาพและเครืองมือเพื่อใช้ในส่วนที่ไม่ใช่ข้อความ)

 

Video transcription, subtitling, and captioning

 

Video transcription (คำอธิบายของวิดีโอ)

          Video transcription คือข้อความที่เป็นคำอธิบายที่มาพร้อมกับวิดีโอ การใส่ Video transcription มีประโยชน์สำหรับวีดีโอคุณอย่างแน่นอน เพราะจะสามารถช่วยให้คนที่หูหนวกหรือใบ้เข้าใจถึงความหมายของวีดีโอได้เพราะคนที่ไม่ได้ยินเสียงหรือไม่ถนัดในการฟังสำเนียงการพูดของต่างถิ่นจะไม่มีทางเข้าใจถ้าดูแค่วิดีโอเฉยๆ เราจึงต้องเพิ่มคำอธิบายที่เป็นประเด็นสำคัญของวิดีโอแนบไปด้วย

Search engine มีความคล้ายคลึงกันกับ video transcription เพราะมันเป็นการเพิ่มคำอธิบายของวิดีโอให้เป็นข้อความ/content

 

Video subtitling and captioning (การใส่ซับไทเทิลและคำบรรยายภาพในวิดีโอ)

          การใส่ซับไทเทิลและคำอธิบายไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันง่ายๆ เพราะมันเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาพอสมควร ซับไทเทิลจะบรรยายในส่วนของบทสนทนา ส่วน captioning (คำบรรยายภาพ) จะบรรยายเสียงอื่นๆที่ไม่ใช่บทสนทนา เช่น เสียงเพลง เสียงเอฟเฟค และเสียงตรวจสอบระบบลำโพง

ตัวเลือกสำหรับเนื้อหาที่จะเพิ่มในวิดีโอของคุณ:

–  ให้เพิ่ม transcript ของวิดีโอเป็นเนื้อในเพจ: คุณสามารถเพิ่ม transcript ของวิดีโอใส่ในหน้าเว็บเพจเดียวกันได้เหมือนในตัวอย่างในลิงค์ต่อไปนี้ (http://www.manythings.org/b/e/5000/) ซึ่งคุณสามารถพิมพ์ transcript ด้วยตนเองหรือใช้เครื่องมือมาช่วยก็ได้

การใช้ HTML5 <video> and <track>: ใช้ HTML5 เพิ่มองค์ประกอบของ <track> tag on a <video> หรือ <audio> จะช่วยให้คุณเพิ่มวิดีโอในหน้าเว็บเพจได้พร้อมกำหนดคำอธิบาย (transcription) ของวิดีโอให้เป็นไฟล์ a .vtt และข้อดีของการมีไฟล์ a .vtt คือ google จะสามารถนำข้อความ/คำบรรยายของวิดีโอไป index ได้

–  เพิ่ม interactive transcription ให้กับวิดีโอ: ลองใช้บริการที่จะสร้าง interactive transcription ให้กับวิดีโอดู เพราะทันคือการถอดเอาคำพูดทุกคำมาบรรยายแล้วบอกเวลาคร่าวๆของประโยคเหล่านั้นและเมื่อเราคลิกที่ประโยคในสคริปวิดีโอจะเล่นตรงนาทีของประโยคนั้น สามารถดูตัวอย่าง timed transcript ได้ในลิงค์ต่อไปนี้ (http://www.ted.com/talks/amit_sood_every_piece_of_art_you_ve_ever_wanted_to_see_up_close_and_searchable/transcript?language=en)

YouTube transcripts, subtitles และ closed captions: YouTube จะจัดการในการตั้งหัวข้อหรือเพิ่มคำบรรยายต่างๆโดยอัตโนมัติและ transcript ที่ได้เขียนขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะต้องผ่านการตรวจสอบเป็นประจำแล้วการที่คำอธิบายของคุณมีลิงค์หรือคลิปเสียงต่างๆมาแทรกจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดแล้ว search engine จะเห็นเป็นแค่ตัวอักษรที่ไม่มีความหมาย

 

Video accessibility do’s and don’ts:

ให้เพิ่มวิดีโอ transcript: เวลาและความพยายามจะทำให้ได้ transcript (คำอธิบาย) ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าและจะช่วยให้ search engine กับผู้ที่เข้าชมวิดีโอเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะมีข้อความหรือคำอธิบายของวิดีโอนั้น

ให้อัพโหลดแล้วแก้ไข transcript และ captions ใน YouTube: การที่ YouTube ได้ตั้งคำบรรยายภาพให้โดยอัตโนมัติจะเป็นตัวอักษรที่ไม่เป็นภาษาเขีนน ดังนั้นคุณจึงต้องตามไปตรวจสอบแล้วแก้ไขให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อได้อัพโหลดวิดีโอ เพื่อให้ search engine ค้นพบวิดีโอของคุณได้

– ให้ขยายความในคำอธิบาย: อธิบายเพิ่มเติ่มในเนื้อหาหรือข้อความที่เราได้ตั้งไว้กับวิด๊โอ เช่น เพิ่มชื่อของผู้ที่บรรยาย ชื่อเพลง และเสียงประกอบในวิดีโอด้วย

ไม่สแปม: อย่าใส่ keyword ใน transcript ของวิดีโอมากเกินไป มันไม่ดีต่อประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้และถ้าอัดคีย์เวิร์ดแบบนั้นอาจจะทำให้ search engine มองข้าม transcript ของคุณได้เลย ดังนั้นให้เขียนคำอธิบายตามความเหมาะสมหรือเสมือนจริงที่สุด

 

Video accessibility tools & resources (เครื่องมือสำหรับวิดีโอ และ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม)

  • คำแนะนำสำหรับการสร้างไฟล์ Transcript (https://support.google.com/youtube/answer/2734799?hl=en)
  • วิธีเพิ่ม captions ในวิดีโอบนหน้าเว็บเพจ (http://www.washington.edu/accessibility/videos/web/)
  • การเพิ่ม transcript ในเว็บไซต์: ทำให้ผู้ใช้งานคนอื่นรู้จักวิดีโอและการถ่ายทอดของคุณ (http://www.uiaccess.com/transcripts/transcripts_on_the_web.html#justdoit)
  • Media Accessibility Checklist: รายการของการเข้าถึงมิเดียที่คุณต้องตรวจสอบ (https://www.w3.org/WAI/PF/HTML/wiki/Media_Accessibility_Checklist)
  • Deafness and the User Experience: ตัวเลือกสำหรับผู้ใช้งานและผู้ที่หูหนวก (http://alistapart.com/article/deafnessandtheuserexperience)
  • เครื่องมือสำหรับทำ transcript และ บริการอื่นๆอีกมากมาย:
    • Amara volunteer or paid transcription services
    • Wistia captioning
    • 3Play interactive captioning
    • ProTranscript basic or interactive transcription
    • CaptionBox interactive transcripts (has WordPress plugin)
    • SubPLY embeddable, customizable, interactive transcripts
    • Dotsub captioning & translation
    • YouTube: อัพโหลดวิดีโอของคุณ ดาวน์โหลด transcript วิดีโดโดยอัตโนมัติ และคุณสามารถมาแก้ไขหรือเปลี่ยนคำอธิบายของคุณได้ในภายหลัง
    • ซอฟต์แวร์การจดจำเสียง. ซึ่งมีตัวเลือกให้เลือกเป็นจำนวนมาก เราควรจะจำไว้ว่าการจดจำเสียงของคุณหรือฟังเสียงแล้วซอฟต์แวร์สามารถบรรยายเป็นอักษรออกมาได้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในขั้นตอนนี้

 

Cr. (https://moz.com/blog/seo-accessibility-images-video)

 

I Can’t Drive 155: Meta Descriptions in 2015

หลายปีที่ผ่านมานี้พวกเราได้แนะนำให้ผู้ทำ SEO เขียน Meta Description สั้นๆที่มีตัวอักขระไม่เกิน 155-160 ตัวอักษร แต่หลายเดือนที่ผ่านมานี้มีผู้ใช้งานจำนวนมากส่งตัวอย่างของ search snippets ที่ทำผิกกฎเหมือนในภาพด้านล่างนี้

search snippets1

ในภาพนี้คุณจะเห็นได้ว่าเว็บไซต์นี้มี meta description ที่ยาวเกินจำนวนที่เราเคยแนะนำไว้และมีมากถึง 317 ตัวอักษร ดังนั้นเราจึงไปค้นหาข้อมูลแล้วตรวจสอบว่า search snippets ของเว็บไซต์ต่างๆจำนวน 92,669 เว็บไซต์ในเดือนเมษายน 2015

 

The Basic Data (ข้อมูลเบื้องต้น)

          ความยาวของ snippets เคยอยู่ที่ 0 อักขระ เคยมี 69 zero-length snippets แต่ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของกล่องคำตอบที่เป็น organic แต่ไม่มี snippet ในอีกทางหนึ่งการค้นหาเหล่านี้ถูกแยแยะผิดแล้วเป็น organic ได้โดยโค้ดของเรา ยกตัวอย่าง zero-length snippets ที่เป็น organic แต่ไม่มีการ snippet เช่นเว็บไซต์ข้างล่างนี้ “chichen itza”

chichen itza

Zero-length snippets เหล่านี้ถูกถอดออกจากการวิเคราะห์ต่อเนื่องแต่พิจารณาให้มี 0.07% ของข้อมูลแต่มันได้ส่งผลกระทบต่อข้อสรุปทั้งสองวิธี non-zero snippet ที่สั้นที่สุดและถูกต้องตามกฏมีแค่ 7 ตัวอักษรที่แสดงถึงชื่อเว็บไซต์ตาม meta description ของเว็บไซต์นั้น ตามรูปภาพในด้านล่างนี้

shortest snipper

Snippet length ที่ยาวที่สุดในการค้นหาวันนั้นมี 372 ตัวอักษรที่เว็บไซต์แสดงขึ้นในการค้นหาของ “benefits of apple cider vinegar” ตามรูปภาพด้านล่างนี้

maximum snippet

 

ความยาวปกติของ snippets เคยอยู่ที่ 143.5 ตัวอักขระและความยาวเฉลี่ยอยู่ที่ 152 ตัวอักษร แต่มันก็สั้นกว่า snippets อื่นๆที่อยู่ในหน้าการค้นหาของ Google ดังนั้นเราจะพาเจาะลึกลงไปอีกในหัวข้อนี้

 

The Bigger Picture (เจาะลึกในหัวข้อ)

 

          เพื่อที่จะมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ลองมาดูการแสดงผลความยาวของ snippets ทั้งหมด 92,600 snippet (ที่มี non-zero length) ให้ดูในรูปกราฟต่อไปนี้ที่แบ่งเป็น 20 อักขระต่อช่อง (0-20, 21-40,ฯลฯ):

SERP Snippet

61.1% เปอร์เซ็นต์ของ snippets ที่ถูกตัดจะอยู่ในกลุ่มอักขระที่ 141-160 ส่วน snippets ที่สั้นกว่ากลุ่มนี้จะไม่ถูกตัดอย่างแน่นนอน และมีบางกลุ่มที่ทำผิดกฎด้วย ประมาณ 1% (1,010) ของ snippets ที่อยู่ในชุดข้อมูลของเราวัดค่าเฉลี่ยความยาวได้ที่ 200 อักขระขึ้นไป แม้จำนวนอาจจะไม่ได้มากแต่มันมีความสำคัญมากพอที่จะนำมาใช้อย่างจริงจัง

 

ที่เห็นตอนนี้คือช่องอักขระที่ 141-160 จะเด่นและบังอย่างอื่น ดังนั้นเราจะซูมเข้าอีกเพื่อดูข้อมูลในช่วงที่ตัด (cut-off range) และให้ดู snippets ในกลุ่มอักขระที่ 120-200 ให้ดูในรูปกราฟต่อไปนี้ที่แบ่งเป็น 5 อักขระต่อช่อง (120-125, 130-135,ฯลฯ):

snippet cut length 120-200

ซูมเข้ากลุ่มอักขระเพื่อดูค่าเฉลี่ยความยาวของ snippets จะเห็นได้ว่าส่วนมากความยาวจะอยู่ที่ 146-165 อักขระ มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับการเขียนด้วย 155-160 ตัวอักษร แต่ส่วนใหญ่จะได้รับการยกเว้น

 

สุดท้ายนี้เราจะซูมเพื่อดูพวกที่แหกกฏ ต่อไปนี้จะเป็นแจกแจงการแสดงผลของ snippets ที่แสดงผลมากกว่า 191+ อักขระ ให้ดูในรูปกราฟต่อไปนี้ที่แบ่งเป็น 10 ตัวอักษรต่อช่อง  (191-200, 201-210, ฯลฯ):

Snippet broken rules

ในกราฟนี้จะเห็นได้ว่าแกน Y จะเล็กกว่าสองกราฟที่ผ่านมาแต่ในการฟนี้มีการกระจายข้อมูลที่เหมาะสมที่สามารถแสดงข้อมูลมากกว่า 300 อักขระ

มันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะบอกว่าเราถูกตัดอักขระของ snippets กี่ตัวโดย Google ถ้าเราไม่เปิดดูต้นฉบับของ meta description tag แต่เรายังมี proxy

Snippets ที่ถูกตัดคำตรงท้ายประโยคออก (…) ซึ่งมีคำอธิบายหลายเว็บไซต์จะมีจุดแสดงแทนตรงท้ายของคำอธิบาย (description) ในข้อมูลชุดนี้จะมี snippets ที่ถูกตัดคำตรงท้ายประโยคแล้วสิ้นสุดด้วยการละใส่จุด (…) มากถึง (52.8%) ดังนั้นเรายังเห็นคำอธิบาย (Meta description) ถูกตัดออกเป็นจำนวนมาก

เราควรเพิ่มคำอธิบายตรงนี้เพราะมันแตกต่างจากการใส่ชื่อเรื่อง/หัวข้อ (titles/headlines) เพราะหลักเกณฑ์การตัด snippets ของ Google ไม่มีความชัดเจนว่าจะตัดออกด้วยจำนวนความกว้างของพิกเซลหรือนับจำนวนของตัวอักษร ในหลายกรณี Google จะตัดคำออกในท้ายของบรรทัดที่สองแต่บางครั้งก็ตัดออกก่อนจะถึงท้ายและบางทีก็ตัดความหมายออกเป็นคำๆด้วย ซึ่งจะสามารถทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้

 

The Cutting Room Floor (การตัดคำ)

รายละเอียดของจำนวนเว็บไซต์ที่ Google ได้ตัดแล้วดัดแปรง meta descriptions มันยากที่จะบอกจำนวนที่แท้จริงเพราะ Google ได้ดัดแปงคำอธิบายของเว็บไซต์เป็นจำนวนที่มากจริงๆ บางอันก็ถูกแก้ไขเล็บน้อยและบางอันก็ถูกแก้ไขในส่วนหลัก ยกตัวอย่าง การถูกแก้ไขเล็กน้อยโดย Google คือการที่ Google จะเพิ่มคำเล็กๆหรือวันที่ของการโพสต์ใส่ เช่น snippet ของการค้นกาเรื่อง “chicken pox” ตามรูปต่อไปนี้:

chicken pox

ด้วยการเพิ่มวันที่และการตัดท้ายประโยคด้วยจุด(…) snippet นี้มีความยาวที่ 164 อักขระ ซึ่ง Google ไม่ได้นับเนื้อหาที่ถูกเพิ่มมาจาก meta description ของเว็บไซต์แค่ไม่ได้ใส่คำขึ้นต้น “Chickenpox” เพราะ Google ได้ตัด Keyword นี้ออก สำหรับมนุษย์เราจะดูออกเลยว่าเป็น meta description แต่บอทจะแยกแยะไม่ค่อยออกว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือเขียนคำอธิบายใหม่

 

อีกตัวอย่างของการแก้ไข snippets และเพิ่มคำคือการเพิ่ม ผลการค้นหาขึ้นก่อน ตามภาพต่อไปนี้ :

Snippets results

ใน snippet นี้มีความยาว 172 อักขระ แล้ว Google ยังปล่อยให้คำอธิบายเว็บไซต์มีความยาวถึงสามบรรทัด  ดังนั้น Google ไม่ได้นับอักขระที่เพิ่นในการแก้ไข

 

Snippets ในชุดข้อมูลของเรามี 11.6% ที่ได้ดัดแปลงและเขียนใหม่โดย Google ดังนั้นการเพิ่มคำหรือดึงคำอธิบายมาใส่ใหม่เป็นเรื่องปกติแม้ว่า Google จะเปลี่ยน meta description แต่คุณก็จะเห็นเป็นการแก้ไขที่เล็กน้อย

รูปต่อไปนี้เป็นอีกตัวอย่างของ snippet ที่ทำผิดกฎ

552d643f2caac3.13068465

คุณอาจจะสงสัยว่าทำไม snippet มีความน่าสนใจกว่าผลการค้นหาอื่นๆ ถ้าคุณเห็นตรงข้างบนของ SERPs คุณจะรู้ว่าเป็นเพราะอะไร

SERP snippets

Google จะดึงเอาข้อมูลในเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นรายการ ในบางกรณืข้อมูลใน snippets จะถูกแก้ไขแล้วส่งไปที่ answer box แทนแต่เขายังแสดงผลการค้นหาอื่นๆในหน้านั้นเหมือนเดิม

 

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ Google ได้ทำตัวอักษรเข้มให้กับ keyword ของเว็บไซต์ที่เป็นคำตอบแล้วใส่ใน answer box นั้นให้เลย เหมือนในรูปต่อไปนี้:

blog keyword

ให้สังเกตดูคำที่เป็นตัวหน้าคุณจะเห็นได้ว่าแต่แต่คำนั้นมีความหมายที่คล้ายกัน “fatigue”, “sore throat”, “fever”, “headache”, “rash”. ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มาจาก meta description แต่มาจากรายการที่เรียงอยู่ในเพจของเว็บไซต์ Google พยายามที่จะใช้ snippet ตอบปัญหา ทุกวันนี้การติดอันดับใน SERPs มันมากกว่าแค่การใช้ keywords

 

The Final Verdict (บทสรุปของทั้งหมด)

 

ทั้งหมดที่บรรยายมาในบทความนี้อาจจะดูสับสันเป็นเพราะมันยากและมีความสับสนจริงๆ ทุกวันนี้ Google มีข้อกำหนดกับ snippets มากขึ้น เช่นการเพิ่มรายละเอียดให้มีความน่าสนใจมากขึ้นหรือมีรายละเอีดที่สามารถตอบคำถามได้

เรามาย้อนดูกันว่าสรุปแล้วเราต้องขัยน meta description ด้วยอักขระจำนวนเท่าไรถึงจะถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ Google แต่ละ snippets ยังตรวจสอบและใช้ความยาวของอักขระอยู่ที่ระหว่าง 145-165 อักขระแล้วทำตามกฏเกณฑ์ที่เขาได้ตั้งไว้ ส่วน snippets ที่มีความยาวเกินเกณฑ์จะเป็น snippets ที่ Google เพิ่มคำหรือดึงเนื้อหาเข้ามาให้ ดังนั้นเราก็ต้องเขียนคำอธิบายของ snippets อยู่ตามหลักเกณฑ์ที่เขาได้ตั้งไว้ให้ที่มีความยาวไม่เกิน 155 อักขระ ด้วย keyword ในคำอธิบายด้วย
Google จะได้พบเว็บไซต์ของเราแล้วนำเข้าอันดับของ SERPs ได้

 

(Cr. https://moz.com/blog/i-cant-drive-155-meta-descriptions-in-2015)

 

 

 

 

 

Title Tag Length Guidelines: 2016 Edition (แนวทางการเขียนหัวข้อเรื่องในปี 2016)

แนวทางการเขียนหัวข้อเรื่องในปี 2016 

          เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา Google ได้ทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับความกว้างของคอเลิมที่เพิ่มขึ้นจาก 512 พิกเซล เป็น 600 พิกเซล( เพิ่มขึ้น 17%) พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ Google ได้เพิ่มความยาวของชื่อเรื่องในผลการค้นหา

Title Length

จากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า หัวข้อเรื่อง (Title Tag) จะแสดงผลของตัวอักษรได้จำนวนเท่าไร? ตอนที่ Google ได้ออกแบบ SERPs ในปี 2014 เราได้แนะนำให้ ใช้ชื่อเรื่องด้วยอักขระไม่เกิน 55 ตัว แต่เมื่อเพิ่มอีก 17% นั้นหมายความว่าเราจะทำงานกับ 9 อักขระที่ต้องเพิ่มอีกด้วย

 

Not so fast, my friend…   (อย่าเพิ่งรีบทำ,ให้ใจเย็นไว้ก่อน)

นี้เป็นจุดเริ่มต้นของความยุงยากทั้งหลายเพราะการหาคำมาเติมไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คุณคิดเอาไว้เพราะมันไม่ใช่แค่นับตัวอักษรใส่ให้ครบจำนวน แต่คุณต้องพิจารณาสามสิ่งที่จะเป็นปัญหาได้ ดังต่อไปนี้

(1) Character widths vary. (ความกว้างของอักขระที่แตกต่างกัน)

          Google จะใช้รูปแบบตัวอักษร Arial เพื่อแสดงผลของผลลัพธ์การค้นหาเพราะ Arial เป็นรูปแบบตัวอักษรที่เป็นสัดส่วนที่สุด ในแต่ละคำจะมีขนาดความกว้างที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัว “W” ใหญ่จะกินพื้นที่มากกว่า ตัว “l” ความกว้างในการแสดงผลนั้นจะวัดเป็นพิกเซลไม่ใช่จำนวนของตัวอักษรที่มีอยู่ในคำ ดังนั้นคุณควรจะหาคำที่จะสื่อถึงเว็บไซต์ด้วยตัวอักษรที่ไม่ยาวมากเพื่อให้หัวข้อเรื่องของเว็บไซต์แสดงผลครบในผลการค้นหา

title vary

(ตัวอย่างของการตั้งชื่อเรื่องของเว็บไซต์)

ในหัวข้อชื่อเรื่องนี้มีตัวอักษร “I” 14 ตัว, ตัวอักษร “t” เล็ก 10 ตัว และเครื่องหมายวรรคตอน 3 จุด เวลาสร้างตัวอักษรให้นับตัวอักขระด้วยและถ้าคุณตั้งหัวข้อเว็บไซต์คุณได้ไม่เกิน 77 อักขระจะสามารถช่วยทำให้คุณนำหน้าอันดับได้อย่างแน่นอน

(2) Titles break at whole words. (การถูกตัดคำในหัวข้อเรื่อง)

ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ Google ได้ตัดคำที่ยาวเกินออกให้สั้นลงทันทีโดยที่ Google จะตัดตรงกลางของคำๆ เช่นคำในรูปข้างล่างนี้ที่ไม่สมควรจะมาตั้งเป็นหัวข้อเรื่องตั้งแต่แรกเพราะมีความยาวมากไปและจะไม่สามารถแสดงผลชื่อซ้ำได้อีกครั้งเนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะแสดง

Title breaks

(ตัวอย่างการตั้งหัวข้อเรื่องที่ผิด)

(3) Google is appending brands. (Google จะเพิ่มชื่อแบรนด์ในหัวข้อเรื่อง)

ในบางกรณีที่ Google กำลังตัวหัวข้อเรื่องของเว็บไซต์ที่มีแบรนด์ Google จะทำการตัวหัวข้อเรื่องให้สั้นและเพิ่มชื่อแบรนด์ลงตรงท้าย แต่น่าเสียดายที่การต่อท้ายชื่อแบรนด์แบบอัตโนมัติใช้พื้นที่มากซึ่งจะทำให้นับพลาดจากจำนวนของคุณ ยกตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์หัวข้อเรื่องของเว็บไซต์ด้านล่างนี้ที่มีจำนวนอักขระที่น้อยที่สุดในฐานข้อมูลของเราซึ่งมีอักขระแค่ 34 ตัว

google brands.png

(ตัวอย่างหัวข้อเรื่อง เว็บไซต์แบบเติมชื่อแบรนด์ตรงท้าย)

ชื่อแบรนด์ของเว็บไซต์นี้คือ “The Homestead” ที่ถูก Google เพิ่มชื่อแบรนด์ใส่ตรงท้ายของหัวข้อเรื่องโดยอัตโนมัติแม้จะไม่ได้อยู่ใน <TITLE>tag. ของเว็บไซต์ก็ตาม คำต่อไปในหัวข้อเรื่องคือ “Accommodations” ดังนั้นการรวมกันของคำบรรยายที่ยาวและการเพิ่มชื่อของแบรนด์มีความเหมาะสมสำหรับหัวข้อเรื่องเมื่อถูกตัดแล้ว

 

Data from 10,000 searches. (ข้อมูลจากการค้นหา 10,000 ครั้ง)

 

          ตัวอย่างต่างๆอาจจะแนะนำคุณไปในทางที่ผิด ดังนั้นเราอยากจะพาคุณเจาะลงลึกในหัวข้อการค้นหานี้ ซึ่งเราได้ดึงข้อมูลในส่วนหัวข้อเรื่องที่ค้นหาด้วย Keyword ด้วยผลลัพธ์ของ 10,000 เว็บไซต์ แล้วต่อไปนี้เราจะให้ความสนใจกับหัวข้อเรื่อง (Title) ที่ถูกตัด

Title Lengths after cut

ในภาพกราฟข้างบนนี้มีการแจกแจงอย่างเป็นปกติที่มีค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานที่ประมาณ 63 แล้ว 63 จะเป็นตัวเลขที่เราจะใช้ในการตรวจสอบหัวข้อเรื่องของข้อมูลที่ได้มาจากกราฟผลลัพธ์นี้

เคล็ดลับง่ายๆในการเขียนหัวข้อเรื่อง (Title Tag) คือการเลือกจำนวนตัวเลขที่คุณคิดว่าหัวข้อเรื่องของคุณจะไม่ถูก Google ตัดหัวข้อเรื่อง (Title) ออกจากผลลัพธ์ นี้เป็นเปอร์เซ็นของหัวข้อเรื่องที่ถูกตัดออกเมื่อมีจำนวนอักขระเกินกำหนดที่ได้ตั้งไว้

– 55% ของหัวข้อเรื่องที่ถูกตัด >= 63 (+2) อักขระ

– 91% ของหัวข้อเรื่องที่ถูกตัด >= 57 (+2) อักขระ

– 95% ของหัวข้อเรื่องที่ถูกตัด >= 55 (+2) อักขระ

– 99% ของหัวข้อเรื่องที่ถูกตัด >= 48 (+2) อักขระ

ในการวิจัยเราอาจจะยึดติดอยู่กับระดับความเชื่อมั่น 95% หรือ 99% แต่ในการวิจัยเพื่อเลือกจำนวนอักขระในครั้งนี้คุณจะต้องเลือกที่ 90% เพราะมันยังให้เราเพิ่ม +2 อักขระ ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณเขียนหัวข้อเรื่อง (Title) ของคุณไม่เกิน 60 อักขระ (57+2 = 59)

ให้คุณนึกไว้เสมอว่าการถูกตัดคำจาก Google ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายและเสียหายเพราะบางที่การถูกตัดคำจาก Google อาจจะช่วยให้เว็บไซต์คุณได้อัตรา click-through เพิ่มขึ้นก็ได้ แต่มันก็ขึ้นกับว่าคุณจะโชคดีหรือไม่ เช่น

cut-off.png

ในตัวอย่าง หัวข้อเรื่องนี้ได้ตัดคำออกไปหนึ่งคำแล้วเรายังไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อความจะถูกตัดออกในตำแหน่งที่จะทำให้สับสนได้ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์รายงานสถานการณ์ที่เป็นอันตรายของ The International Association of Assemblages of Assassin Assets.

ก่อนที่จะออกแบบใหม่ เขาควรจะเริ่มที่การเปลี่ยนหัวข้อเรื่องก่อน เพราะมันไม่ได้ช่วยส่งเสริมอะไรให้กับโพสต์เลย แต่เมือเราเริ่มที่จะไปแก้ไข้มันก็สายเกินไปแล้ว ดังนั้นให้คุณคิดและออกแบบหัวข้อเรื่องให้ดีก่อนที่จะนำไปใช้กับเว็บไซต์จริงๆ

 

So, that’s it then, right? (ดังนั้น เราจะเสร็จแค่นี้ ใช่ไหม?)

ไม่ เรายังไม่เสร็จเพราะคุณจะต้องหาข้อมูลและรายละเอียดของการเขียนหัวข้อเรื่องเป็นประจำ การที่ Google มีวิวัฒนาการเพิ่นขึ้นและได้มีการปรับให้เข้ากับอุปกรณ์ที่กว้างขึ้น เราสามารถคาดหวังให้พวกเขาปรับและทดสอบขนาดการแสดงผลของหัวข้อเรื่องได้อย่างต่อเนื่อง ในความเป็นจริงแล้วพวกเขากำลังทดสอบรูปแบบ card-style ใหม่สำหรับเดสก์ท็อป SERPs ที่ผลลัพธ์จะแสดงผลเป็นกล่องเหมือนในรูปตัวอย่างด้านล่างนี้

boxed format

แต่เราก็ไม่แน่ใจหรอกว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรหรือไม่เพราะยังมีรูปแบบแคบมาปรากฏขึ้นในเครื่องของผู้ใช้งานจำนวนหนึ่ง แต่ถ้าการออกแบบให้มีกล่องหัวข้อเรื่องแบบนี้ถูกนำมาใช้งานอย่างถาวรคุณก็เตรียมตั้งหัวข้อเรื่องเว็บไซต์ให้มีอักขระไม่เกิน 60 ตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตัดคำ

(Cr. https://moz.com/blog/title-tag-length-guidelines-2016-edition)

Designing for a Responsive Web (การออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive คืออะไร)

Designing for a Responsive Web (การออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นแบบ Responsive)

 

การออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive คืออะไร?

          Responsive Web Design คือการออกแบบเว็บเพจให้แสดงผลออกมาให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอหรืออุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ในบทความนี้ได้เขียนขึ้นมาเกี่ยวกับการออกแบบ Responsive ไว้ 3 ส่วนสำหรับนักออกแบบเว็บไซต์โดยเฉพาะเพื่อที่จะได้รู้ และเข้าใจการทำเว็บ Responsive มากขึ้น ได้แก่

  1. A fluid grid
  2. Fluid images
  3. Media queries

 

บทบาทของนักออกแบบ

          ถ้าคุณมีบทบาทหน้าที่เป็นแค่ผู้ออกแบบเว็บไซต์อย่างเดียวนั้นหมายความว่าคุณไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับส่วน HTML และ CSS ของเว็บไซต์ แต่ในการออกแบบเว็บไซต์ Responsive คุณจะต้องเรียนรู้และเข้าไปแก้ไข code ของเว็บไซต์เพื่อที่จะให้เว็บไซต์แสดงผลแบบ responsive ได้

สิ่งสำคัญในการทำเว็บไซต์คือการออกแบบและเขียนโคดคู่กัน แต่นักออกแบบแต่ละคนอาจจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในทั้งสองด้านนี้ ดังนั้นคุณควรจะไปเรียนรู้เพิ่มเติมและเจาะลึกในด้านของการเขียนโค้ดสำหรับออกแบบเว็บไซต์

 

การออกแบบด้วย Grid System

Grid system.png

Grid System คือตัวช่วยในการออกแบบเว็บไซต์เพื่อทำให้มีระยะขอบเขตที่ชัดเจน แบ่งสัดส่วนของเว็บเพจให้เรียบร้อยในรูปแบบต่างๆ เช่น คอเลิมที่มีข้อมูลหรือข้อความ มีกราฟอยู่ในกล่องข้อความที่จะช่วยทำให้เว้บไซต์เป็นระเบียบเมื่อมีกล่องข้อมูลมากขึ้น

หนึ่งในโครงสร้างของการออกแบบเว็บไซต์ Responsive คือ The Fluid Grid ซึ่งจะวัดแบบดั้งเดิมเป็นพิกเซลแต่จะเปลียนเป็นเปอร์เซ็นจากความกวางของเพจ ความกวางของคอเลิมจะเปลี่ยนตามขนาดของหน้าต่างและอุปกรณ์ที่ใช้งาน

ซึ่งเป็นเหตุผลที่คุณจะต้องใช้ตารางในกาออกแบบเว็บไซต์ Responsive เพราะมันเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการออกแบบเว็บไซต์ให้เป็น responsive ไม่งั้นมันจะใช้ไม่ได้แล้วเมื่อคุณทราบแล้วว่าพิกเซลมีขนาดที่ไม่แน่นอนคุณควรจะรู้รายละเอียดในการใช้ตารางดังต่อไปนี้

  1. พยายามงดการใช้เส้นขอบพื้นผิวของคอเลิมเหมือนในรูปข้างล่างนี้ textured_borders

การออกแบบขอบคอเลิมเหมือนในภาพดังกล่าวจะทำให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ของคุณยุ่งยากเพราะจะปรับขนาดในแนวนอนไม่ได้

 

  1. ไม่ควรจะไล่ระดับให้อยู่ในแนวนอน horizontal_gradient

เป็นเหตุผลเดียวกันกับภาพก่อนหน้านี้ว่าจะไม่สามารถวัดเป็นแนวนอนได้ แต่มันก็สามารถวัดได้ถ้าใช้เครื่องมือของ โปรแกรม CSS แต่ถ้าคุณมีเปาหมายให้ผู้เข้าเยื่ยมเว็บไซต์จำนวนมากคุณไม่ควรจะใช้เอฟเฟคแบบนี้

  1. แต่ถ้าหากคุณใช้สีในพื้นหลังในคอเลิมให้ใช้สีที่ไม่แจ่ม หยาบและหลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพหรือตัวประกอบมาเป็นพื้นหลังของข้อความ

 

Thinking with Proportions (การคิดแบบมีสัดส่วน)

          การที่คุณจะวัดการออกแบบของคุณให้แสดงผลกับอุปกรณ์แล้วในช่วงเวลาที่คุณกำลังออกแบบนั้นคุณจะประสบปัญหาที่ข้อความในเว็บเพจใหญ่เกินไป ใช่อยู่ว่าหัวข้อต่างๆในเพจมีขนาด 100pt จะดูสวยงามในจอคอมพิเตอร์แต่มันจะใช้ไม่ได้เมื่อมาเปิดใช้ในหน้าจอของ IPhone เพราะตัวอักษรจะมีขนาดที่ใหญ่เกินไปซึ่งมีผลกระทบต่อการออกแบบเดิมของคุณ

อยู่ในการทำงานของขั้นตอนนี้ผู้พัฒนาจะใช้ โปรแกรม CSS เพื่อปรับขนาดเว็บไซต์ให้เหมาะกับหน้าจอการแสดงผลแต่การทำงานขั้นตอนนี้ก็ต้องขึ้นกับผู้ออกแบบ

เพื่อช่วยนักพัฒนาเว็บไซต์ใช้การออกแบบดังเดิมของเขานักออกแบบอย่างคุณจะต้องเลือกตัวอักษรและพื้นหลังของกล่องข้อความต่างๆทุกครั้งที่วางคอเลิมในเพจนั้นๆเพื่อให้ผู้พัฒนานำไปใช้งานในรูปแบบเดิมได้ และคุณควรจะใส่ใจด้วยว่าตัวอักษรจะปรับลให้เข้ากับขนาดเท่าไหร่

วิธีที่ผิดในการใส่ขนาดของตัวอักษรคือ : x จะต้องมีขนาดที่ใหญ่กว่า y 20pt ความคิดนี้ไม่เพียงแต่เป็นความยุ่งยากสำหรับนักพัฒนาระบบเพราะคุณกำลังจะทำค่าคงที่ที่จะไม่เปลียนหรือปรับขนาดแม้จอแสดงผลจะเล็หรือกว้างแค่ไหนก็ตาม

วิธีที่ถูกต้องในการใส่ขนาดของตัวอักษรคือ : x จะต้องมีขนาดที่ใหญ่เกือบเท่า y 1.5 เท่า เพราะวิธีนี้จะยอมรับเฉพาะการออกแบบที่แท้จริงว่าขนาดของตัวอักษรมีขนาดเล็กหรือใหญ่แค่ไหนเมื่อเทียบกับข้อความอื่นๆบนหน้าเว็บไซต์, (ค่าคงที่เช่น 24pt หรือ 64pt จะหมดความหมาย)

เมื่อคุณวางแผนการออกแบบสำเร็จแล้วให้นำข้อมูลทั้งหมดส่งไปยังผู้พัฒนาระบบเพราะจะได้ช่วยกันตัดสินใจและตวรจสอบดูว่าการออกแบบนั้นจะแสดงผลบนเว็บเพจอย่างไร

 

Make it Modular (สร้างให้เป็นไปตามมารตฐาน)

ในส่วนสุดท้ายของการทำเว็บไซต์แบบ Responsive คือ การใช้ Media Queries เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา

สิ่งที่พิเศษในการใช้ Media Queries คือ คุณสามารถปรับขนาดหรือออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ใหม่เพื่อให้ปรับขนาดเข้ากับบราวเซอร์ได้

เพื่อให้การออกแบบออกมาดีที่สุดคุณควรจะเริ่มคิดถึงส่วนต่างๆของแบบ เช่น เนื้อหาหลัก (main content), ส่วนด้านข้าง (sidebar), หัวข้อเรื่อง (header) และระบบนำทาง (navigation)

ซึ่งมันไม่ได้เป็นชิ้นส่วนที่ต้องวางไว้ในตำแหน่งเดียวกันเหมื่อนส่วนอื่นๆ แต่ชิ้นส่วนสำเร็จรูปนี้สามารถนำมาจัดเรียงใหม่,ปรับขนาดและสับเปลี่ยนจากแบบเดิมได้โดยไม่ทำให้ลักษณะที่สำคัญหายไป

ยกตัวอย่างเช่น คุณกำลังออกแบบเว็บไซต์ด้วยโครงสร้างเหมือนในภาพด้านล่างนี้

modules_original

ส่วนที่สำคัณของตัวอย่างนี้คือ กลุ่มขององค์ประกอบที่ต้องอยู่ด้วยกันในโครงสร้างต่างๆ เช่น ลิงค์ของระบบนำทาง (navigation links) จะต้องอยู่ด้วยกันไม่งั้นจะทำให้ไม่มีความหมาย นี้เป็นโมดูลที่เป็นส่วนของข้อมูลที่จะสามารถย้ายไปรอบๆโมดูลอื่นๆได้โดยไม่สูญเสียความสำคัญของมัน

การสร้างเว็บไซต์ด้วยโมดูล (module) เหล่านี้จะทำให้ง่ายต่อการใช้งานเพราะขนาดโครงสร้างจะปรับมุมมองให้เข้ากับอุปกรณ์การแสดงผลต่างๆ เช่น

modules_resized.png

คุณจะสามารถเห็นได้ว่าภาพตัวอย่างของเว็บไซต์นี้โมดูลจะจัดในตำแหน่งที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ยังแสดงข้อมูลเดียวกันกับต้นฉบับ เพียงแค่ในรูปแบบย่อยสำหรับโทรศัพท์หรือเบราว์เซอร์อื่นๆทีมีขนาดแตกต่างกัน แล้วคุณไม่จำเป็นที่ต้องไปแก้ไขส่วนใดของโครงสร้างนี้เพื่อให้ใช้งานในรูปแบบที่สองได้เพราะมันเป็นแค่การมองภาพเดิมในมุมมองที่แตกต่าง หวังว่ารูปแบบใหม่นี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นขณะที่คุณกำลังออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ในอนาคต

 

Conclusion (สรุป)

          เหมือนกับสิ่งทั่วๆไปในอินเตอร์เน็ต การออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive (Responsive Web Design) เป็นวิวัฒนาการของระบบซึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป มันเป็นเพียงขันตอนหนึ่งของการทำเว็บแต่ไม่ได้สมบูรณ์ทุกอย่าง ในฐานะที่คุณเป็นนักออกแบบคุณจะต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Responsive Web Design เป็นอนาคตของการออกแบบเว็บไซต์หรืออย่างน้อยก็จะเป็นเมื่อนักพัฒนาระบบและนักออกแบบนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำเว็บไซต์ ในฐานะนักออกแบบเว็บไซต์และนักพัฒนาระบบ เราเป็นคนเดียวที่เห็นความยอดเยี่ยมของมาตรฐานใหม่บรรลุผล ทำให้มันเป็นจริงได้เพื่อตัวคุณ ตัวเราเอง และอินเตอร์เน็ตที่ยิ่งใหญ่ขึ้น!

 

Cr. http://webdesign.tutsplus.com/articles/designing-for-a-responsive-web–webdesign-3850

How to do Keyword Research in 90 Minutes

วิธีการค้นหาและวิเคราะห์ Keyword ใน 90 นาที

ทุกคนคงเคยมีช่วงเวลาที่ต้องทำงานอะไรหลายๆอย่างพร้อมกันจนไม่มีเวลาว่างที่จะมานั่งค้นหาข้อมูลหรือเทรนด์เกี่ยวกับ keyword และคุณไม่อยากเสียเวลาในการนั่งอ่านบทความต่างๆ ที่มีผลลัพธ์การค้นหามากถึง 15.4 ล้านเว็บไซต์ที่จะทำให้คุณแม่นยำในด้าน keyword ได้อย่างแน่นอนถ้าคุณอ่านครบทุกเว็บไซต์

แต่น่าเสียดายที่ไม่มีใครมีเวลามาเปิดดู 15.4 ล้านเว็บไซต์ของผลลัพธ์และระบุว่าเว็บไซต์ไหนโพตส์เนื้อหาเป็นประจำ, เข้าประเด็น, หรือถูกต้อง จึงเป็นเหตุผลที่ผมตั้งข้อจำกัดให้แบ่งหมวดหมู่โดยเฉพาะและตารางระบุประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอ keyword ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับ organic search

Keyword Research

เราจะเริ่มต้นศึกษาด้วยการตั้งลูกค้านามสมมุติขึ้น  Joey Antipodean เป็นชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ใน แมนฮัตตันและชอบจิงโจ้มาก เขาชอบจิงโจ้มากจนตัดสินใจทำเว็บไซต์ www.kangaroosnyc.com ขึ้นมาสำหรับคนที่ชื่นชมและชอบจิงโจ้เหมื่อนกันมาสอบถามหรือเล่าประสบการณ์และมี community ที่สือสัตย์และมีชีวิตชีวา

 

การใช้ชุดเครื่องมือของ Google

          อันดับแรก Joey ต้องติดตั้ง Google Analytics (GA) และ Google Webmaster Tools (GWT) และตั้งแต่ Google เลิกแสดงผลลัพธ์ของ keyword ใน GA เราจึงต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เข้าไปที่ GA account ของ Joey แล้วคลิกตรงคำว่า “Acquisition” ในเมนูแถบตรงซ้ายมือ

2.ให้คลิกที่ “Source/Medium” ตรงใต้คำ “Acquisition”

  1. ในหน้าข้อมูลหลักให้คลิกตรงคำว่า “google/organic” (รูปภาพที่ 1)
  2. แล้วคลิกที่ “Secondary Dimension” ตรงใต้คำว่า “Behavior” แล้วคุณจะเจอ “Landing Page” (รูปภาพที่ 2)

1

(รูปภาพที่ 1)

keyword 2

(รูปภาพที่ 2)

แล้วคุณก็จะได้ตารางผลลัพธ์ของเว็บไซต์ที่ติดอันดับแรกๆ ที่จะช่วยให้คุณหา keyword ที่คุณต้องการได้จากการดูว่าเว็บไซต์นั้นมี traffic ที่ดีไหมและให้ดูว่าเนื้อหาของคุณคล้ายกับของเขาหรือเปล่าแล้วค่อยเลือกเอา keyword มาใส่ของเรา

keyword

 

แต่คุณสามารถหา keyword ที่เฉพาะและเจาะจงได้ด้วยการใช้ GWT เพราะ GWT จะช่วยให้คุณค้นหาและดูข้อมูลที่เฉพาะ, ความประทับใจ, อัตราคลิก, CTR และตำแหน่งเฉลี่ยบนหน้าเว็บ หลังจากนั้นในคลิกที่ “Search Traffic” ตรงซ้ายมือซึ่งแสดงข้อความสำหรับการค้นหาที่สามารถใช้ตัวกรองในการเอา traffic ของเว็บไซต์ที่มีแบรนด์ออกแล้วแสดงให้เห็นเฉพาะเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานคลิกเข้าไปดูจริงๆ แล้วทำให้ SERPs เห็นเว็บไซต์ http://www.kagaroosnyc.com ได้

Search

คุณสามารถเลือกตรงแถบว่าต้องการให้แสดงผลลับอันไหนได้ระว่างเว็บไซต์ยอดนิยมกับคำที่ค้นหายอดนิยม GWT มีการใช้งานที่แตกต่างจาก GA ตรงที่ GA จะแสดงผลให้เห็นแค่ URLs ของเว็บไซต์ต่างๆ แต่ GWT จะแสดงตาราง keyword ที่ใช้ละอัตราคลิกของคำนั้นๆ

3.png

 

เรามาเริ่มต้นด้วยการใส่ keyword ที่หาได้ใน GA และ GWA ลงใน Google Docs spreadsheet ก่อนแล้วค่อยมาเพิ่มจำนวนครั้งที่ถูกค้นหา ตอนนี้เราได้ข้อมูลมาแล้วและเราสามารถนำไปปรับปรุงคีย์เวิร์ดให้ดีขึ้นได้ ด้วยการใชเครื่องมือ Google Keyword Planner (GKP) เมื่อเข้าไปที่ GKP แล้วให้คลิกที่ “Search for new keyword and ad group ideas” และ ใส่คำว่า “kangaroos” ในช่องเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณและปล่อยช่องใส่ข้อความอื่นๆให้ว่างไปก่อนตอนนี้

GKP

GKP step

แล้วคลิกที่ “Get Ideas” ในด้านล่างของเพจ เมื่อได้ผลลัพธ์ให้คลิกที่ Click on “Avg. Monthly searches” เพื่อให้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย

GPK 3

เมื่อคุณคลิกที่กลุ่ม Ad “Kangaroo” คุณก็จะได้ keyword ทีเป็นคำสั้นๆแต่ผลลัพธ์หลังจากนั้นจะเริ่มมี keyword ที่ยาวขึ้นและเป็นคำถามเช่น “Where do kangaroos live” ถูกค้นหาถึง 1,000 ครั้งต่อเดือน ดังนั้นคุณควรจะใส่ใจในเรื่องของคีย์เวิร์ดที่เป็นคำถามด้วย เพราะมันจะช่วยให้เราติดอันดับได้ใน SERPs โดยไม่ต้องไปแข่งแข่นกับเว็บไซต์ของ National Geographic, Wikipedia, และ zoos ได้

อีกเครื่องมืออันหนึ่งที่คนไม่ค่อยจะรู้จักกันคือ Google Instant ที่จะช่วยค้นหาคีย์เวิร์ดได้โดยพิมพ์คำขึ้นต้นก่อนแล้วในการค้นหาจะเติมคำให้เอง เหมือนตัวอย่างในรูปภาพข้างล่างนี้

Google Instant

ให้รวบรวม keyword ที่คุณหามาได้ทั้งหมดและใส่ลงใน GKP ที่จะช่วยให้คุณหา traffic ในการค้นหานั้นโดยเฉพาะแล้วให้คลิกที่ “modify search” และคลิกตรกตัวเลือกให้ “Get search volume for a list of keywords or group them into ad groups” ก่อนที่จะโหลดกล่องขึ้นด้วย keyword ที่ต้องการ

 

ประเมินความเป็นจริง: เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้วหรือสร้างขึ้นมาใหม่?

คุณสามารถวิเคราะคีย์เวิร์ดของคุณได้ว่าจะสามารถแข่งขันในอันดับ SERPs ได้หรือไม่ มี Domain ที่มีความแข็งแกร็จหรือค่อนข้างอ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก? คุณสามารถวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ได้โดย Moz’s Open Site Explorer ที่จะช่วยคุณตรวจสอบเว็บไซต์คุณได้ว่าจะสามารถแข่งขันใน SERPs และมีโอกาศติดอันดับในหน้าแรกได้ไหม ส่วนการค้นหายอดนิยม “what do kangaroos eat” ที่ถูกค้นหามากถึง 2,400 ครั้งต่อเดือน

What do kangaroos eat

what do kangaroos eat 2.png

ต่อไปนี้ให้คุณนำ keyword ที่สะสมมาใน Google Doc  มาเรียงจัดอันดับของปริมาณการค้นหาต่อเดือนและหา keyword ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือ keyword ที่ใกล้เคียง หลังจากนั้นให้นำ keyword ที่ได้มาตรวจสอบความแปรปรวนในอันดับของ SERPs หากเราเห็นหน้าเดียวกันแสดงขึ้นซ้ำๆสำหรับการค้นหา แสดงว่าคุณไม่จำเป็นต้องใส่คำสั่งที่แตกต่างกันในหน้าอื่นๆของเว็บ คุณสามารถตัดบางส่วนออกเพราะคุณจะได้รับ traffic ที่เป็น organic ได้

สุดท้ายแล้วให้เลือก keyword ที่มียอดนิยมที่สุดและเลือกจากตาราง keyword ที่คุณเขียนเอาไว้ว่าคีย์เวิร์ดไหนจะนำ traffic มาให้เว็บไซต์คุณมากที่สุดที่มี title tag ประสิทธิภาพ แต่คุณยังไม่ได้ได้สร้างเพจหรือเว็บไซต์ให้ keyword เหล่านั้นดังนั้นให้อ่านในขั้นตอนต่อไป

 

Listen to the ideal audience (ค้นหากลุ่มเป้าหมาย

จากที่คุณได้ทำมาทั้งหมดยังเป็นแค่การหา keyword และประโยคที่คุณคิดว่าผู้ใช้งานจะค้นหาใน Google แต่คุณกำงลำเอียงเพราะคุณก็ต้องฟังความต้องการของผู้ใช้งานด้วย โดยการหาจากเพจโซเชียลต่างๆ ด้วยการใช้ hashtag และ keyword เพื่อค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้งานกำลังสนใจและพูดถึงมากที่สุด

เช่น พิมพ์คำว่า “kangaroo pet” ในช่องการค้นหาใน Twitter แล้วคุณก็จะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและหลากหลายที่ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการแต่อาจจะมีผลลัพธ์ของสิ่งอื่นๆที่คล้ายกัน การที่คุณค้นหาใน Twitter คงจะให้ไอเดียในการคิด keyword และเพิ่มใส่ใน GKP อย่างไรก็ตามการใช้คีย์เวิร์ดที่เป็นประโยคหรือยาวคงจะไม่ช่วยให้คุณมี traffic เข้าเพจได้มาก แต่ถ้ามันเป็นที่นิยมและพูดถึงมากในโซเชียลอาจจะทำให้มี traffic เข้ามามากก็ได้ ดังนั้นคุณควรจะเลือก keyword ที่เหมาะกับผลิตภันณ์/บริการของคุณ

นอกจากการใช้ Twitter และโซเซียลมิเดียต่างๆแล้วคุณสามารถใช้ฟอรั่มที่จำนำไปสู่คำถามและคำตอบที่ตอบโดยมนุษย์ไม่ใช่บอทที่ทำตามอัลกอริทึ่มที่ได้วางไว้ ปกติการโต้ตอบในฟอรั่มจะมีรายละเอียดสูงในการตอบคำถาม แต่ถ้าคำถามที่อยู่ในบล็คต่างๆนั้นมีผู้ใช้งานสนใจมากและถูกแชร์ไปในเพจต่างๆคุณก็ควรจะพิจราณาการใช้ keyword แบบ long-tail มากกว่า keyword แบบ short-tail

 

Demonstrate room for growth

คุณควรจะภูมิใจกับการได้ keyword จากการค้นหาในโปรแกรมต่างๆ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Joey Antipodean จะดูแลหรือแม้กระทั้งให้ความสนใจกับเว็บไซต์ของเขา ดังนั้นเราควรจะบอกให้เข้าใส่ใจในเรื่องของการอัพเดทเนื้อหาและรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่อยู่ในเว็บไซต์เพราะ SEO ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มาก บางที่เมื่อบอทไปตรวจเว็บไซต์แล้วพบว่าคุณได้อัพเดทสิ่งเหล่านั้นเป็นประจำอาจจะทำให้ติดอันดับขึ้นมาก็ได้

เว็บไซต์ที่เป็น e-commerce ควรจะสามารถให้ค่าเฉลี่ยของการสั่งซื้อ (AOV) สำหรับรายการ แต่ไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่ Joey เป็นส่วนร่วมด้วยมารตการเปลี่ยนแปลงเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สมมุติว่าเว็บไซต์ www.kangaroosnyc.com ต้องการให้ผู้ใช้งานมาลงชื่อใช้อีเมล์และเข้าชมในอัตรา 3% และมีอีกมีห้าเว็บไซต์ที่ไม่ได้มีทำคีย์เวิริดเฉพาะให้แต่ติดอยู่ในอันดับของ SERPs

เราจะใช้การประมาณค่าของอัตราคลิกเข้าข้อมูลเหมือนในกรณีศึกษาจากกราฟของ Advanced Web Ranking เราจะเห็นได้ว่าอัตราการคลิกในจุดที่สี่มีค่า 6.97% และมีการแสดงผลในเว็บไซต์ที่ติดในห้าอันดับนั้น 10,000  ครั้งต่อเดือน 697 จะเข้าไปถึงเว็บไซต์และจาก 697 นั้นจะมีแค่ 3% หรือ 21 คนจะลงทะเบียนแล้วให้อีเมล์ของเขา

Google Organic Click-Through Rates

สามารถอ่านรายล่ะเอียดเกี่ยวกับ Google Organic Click-Through Rates in 2014 ได้ที่ http://www.advancedwebranking.com/blog/google-organic-click-through-rates-2014/

 

แต่มันก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการหา keyword เราจะคาดหวังให้ keyword นั้นติดอยู่ในอันดับสูงๆจนมาหยุดอยู่ที่ตำแหน่งคงที่ ให้ทำตามขั้นตอนเดิมแต่ Google ให้ อัตราคลิกเป็น 31.24% ก็จะได้ย้ายไปอีกจุดหนึ่งจะได้อัตราคลิกถึง 3,124 คลิกด้วยการแสดงผล 10,000 ที่จะมีผู้ใช้งานมาลงทะเบียนอีเมล์เกือบ 94 หรืออาจมีเพิ่มถึง 74 คนถ้าคุณทำกระบวน keyword ให้ แต่สำหรับลูกค้าที่ทำเว็บไซต์ e-commerce เราจะสนใจเกี่ยวกับรายได้ของเว็บไซต์มากกว่าการนำคนมาลงทะเบียนในอีเมล์

Google Organic Click-through Rates 2

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างการหา keywords ให้กับเว็บไซต์ Kangaroos NYC เพื่อนำ traffic และอัตราการคลิกเข้าชมให้กับเว็บไซต์ แต่คุณก็ต้องหาข้อมูลและดูว่าลูกค้าของคุณทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไรก่อนแล้วค่อยลงมือเริ่มทำ และอย่าลืมเหตุผลที่คุณตั้งไว้ว่าจะทำให้เว็บไซต์ติดในอันดับที่สูงที่สุดของ SERPs ใน Google ดังนั้นคุณควรจะให้ความสำคัญกับข้อมูลและรายละเอียดต่างๆแล้วนำไปทำเว็บไซต์ของคุณ

 

Cr. https://moz.com/blog/keyword-research-in-90-minutes

 

SEO Basic Tips: สิ่งสำคัญ 8 อย่างทีจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของคุณ

SEO Basic Tips: สิ่งสำคัญ 8 อย่างทีจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของคุณ

 

SEO คืออะไรกันแน่?

การทำ SEO คือการใส่ keyword ต่างๆให้กับเพจแล้ะเว็บไซต์เพื่อให้ค้นเจอได้หน้าแรกๆ ของ Google แต่นอกจากนั้นคุณก็ต้องออกแบบและวางเนื้อหาให้ถูกวิธีของหลัก SEO ต่อไปนี้คือ 8 สิ่งสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์ตามหลักของ SEO เพื่อให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่ดี

  1. สมมุติว่าเว็บไซต์ของคุณคือเค้ก

Link สื่อโซเชียวต่างๆ และพื้นที่โฆษณาที่ซื้อในเสิร์ชเอนจินเปรียบเหมือนไอซิ่งบนหน้าเค้ก ส่วนเนื้อหา รูปแบบข้อมูล ระบบการจัดการการเนื้อหาและโครงสร้างพื้นฐานเปรียบเหมือนน้ำตาลที่ทำเค้ก ถ้าไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลเค้กก็จะไร้รสชาติแล้วคุณก็จะทิ้งมันลงขยะ เหมือนในรูปด่านล่างที่ทั้งสองเป็นเค้กแต่อันที่คุณภาพดีและน่ากินก็ต้องถูกเลือก เหมือนกับ SEO นี้แหละคะเว็บไซต์ไหนที่ทำตามขั้นตอนของ SEO ได้ก็จะติดอันดับได้ดีกว่า

think-of-your-site-like-a-cake

  1. สิ่งที่ Search Engine กำลังมองหา

           ระบบของ Search Engine ต้องการทำงานให้มีคุณภาพที่ดีที่สุดโดยจะตรวจสอบว่าผู้ใช้งานจะค้นหาหัวข้อหรือ content ไหนมากที่สุด ดังนั้นคุณควรตรวจสอบรายละเอียดของขั้นตอนต่อไปนี้ว่าเป็นไปตามวิธีของ SEO หรือไม่

  • Content: เลือกธีมเพจให้เรียบง่ายด้วยตัวอักษรที่อ่านออกได้ง่าย ใส่หัวข้อและรายละเอียดของหัวข้อให้ถูกตามหลัก SEO ด้วย
  • การแสดงผล: ตรวจสอบความเร็วของการโหลดเพจบนเว็บไซต์ของคุณ
  • ฝ่ายบริหารเว็บไซต์: ให้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหามากพอที่จะ link ไปที่เว็บไซต์ที่เป็นทางการหรือไม่ และให้ใส่อ้างอิงของเว็บไซต์ด้วย
  • ประสบการณ์ของผู้ใช้: ตรวจสอบว่าการออกเว็บไซต์สามารถดึงดูดคนเข้ามาชมได้ไหม ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ง่ายต่อการเข้าถึงไหม ตรวจสอบความปลอดภัยของเว็บไซต์ และตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณมี bounce rate หรือไม่

 

  1. สิ่งที่ Search Engine ไม่ได้ค้นหาและตรวจสอบ

          Spider ของ search engine มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่งดังนั้นถ้าคุณใช้วิธีเพื่อหลอกบอทคุณคิดผิดแล้วเพราะจะทำให้คุณเสียโอกาศในการติดอันดับได้สูงมาก สิ่งที่ search engine ไม่ต้องการ คือ

  • การใช้คีย์เวิร์ด ซ้ำๆ (Keyword Stuffing): บอทจะไม่ตรวจเว็บไซต์คุณถ้าในเนื้อหาและหัวข้อต่างๆมีคีย์เวิร์ดมากเกินไป
  • การซื้อ link ต่างๆ: การซื้อ link จะไม่ช่วยให้ SEO บนเว็บไซต์ของคุณติดอันดับได้เลย
  • การเข้าถึงเว็บไซต์ที่ยุ่งยาก: สร้างและออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ของคุณให้เข้าถึงได้ง่าย ให้หลีกเลี่ยงจำนวนของป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ไซต์มากเกินไป ไม่งั้น spider ของ search engine จะไม่ตรวจเว็บไซต์ของคุณเลย
  1. รู้จักโครงสร้างธุรกิจของคุณให้ดี

คุณควรจะทำความเข้าใจกับโครงสร้างของธุรกิจคุณให้ดีแล้วถามคำถามต่อไปนี้กับตัวเองว่าคุณต้องการอะไร

  • อะไรคือสิ่งที่กำหนดแปลงสำหรับคุณ?
  • คุณต้องการแค่ให้คนดูหรือคลิกเข้าที่เว็บไซต์ของคุณมากกว่ากัน?
  • เป้าหมายของคุณคืออะไร?
  • คุณรู้สินทรัพย์และหนี้สินของคุณไหม?

 

  1. เพิ่มความหลากหลายให้กับเว็บไซต์ของคุณ

multichannel-optimization

การใส่ Keyword ไม่ได้สำคัญแค่ใน on-site แต่สำคัญใน off-site ต่างๆของเว็บไซต์ด้วยดังนั้นคุณควรจะใช้สือโชเซียลต่างๆเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีช่องทางที่หลากหลายด้วย เช่น

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Email
  • แบบออฟไลน์เช่นโฆษณาในวิทยุหรือโทรทัศน์

การที่เขียนประโยคหรือใช้คำที่สอดคล้องกับคีย์เวิร์ดของเว็บไซต์จะช่วยสร้างตราสินค้าหรือบริการของคุณได้และยังช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพด้วย

 

  1. ใช้ Domain name ที่สอดคล้องกัน

Domain name เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการตั้งเว็บไซต์ของคุณ เพราะ Domain name เป็นชื่อเว็บไซต์และชื่อบล็อคต่างๆของคุณ ดังนั้นคุณควรจะตั้งชื่อโดเมนของเว็บไซต์คุณให้เรียบง่ายและจดจำง่าย

ตั้งชื่อโดเมนสั้นๆที่ไม่มีตัวเลขหรืออักศรเพิ่มต่างๆแบบตัวอย่างนี้(example.com/awesome) ให้จดชื่อโดมเมนง่าย เช่น (www.example.com)  แล้วถ้าคุณทำ SEO ของคุณตามหลักแล้วให้มี inbound link ด้วย คุณก็จะสามารถค้นหาเว็บไซต์โดยไม่ต้องใส่ www. และ ถ้า URL ของคุณมี keyword ในชื่อจะยิ่งดีเพราะจะช่วยในการได้อันดับของ SEO ง่ายขึ้น

 

  1. เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับชนิดของการค้นหา

นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพในเดสก์ท็อปแล้วคุณควรจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ค้นหาได้ผ่านโทรศัพท์แท็บแล็ตและสื่ออื่นๆด้วย ในหน้าหลักของคุณควรมีเนื้อหาที่เป็นวีดีโอเพื่อสื่อถึงสินค้าหรือธุรกิจของคุณ ซึ่งจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ใช้งานมากว่าแค่เนื้อหาที่มีแค่ตัวอักษร แต่ถ้าหน้าเว็บของคุณมีแค่ตัวอักษรให้เพิ่ม Flash เข้าด้วยแล้วใช้ตัวอักษรที่เรียบและอ่านได้ชัดเจนเพื่อให้ search engine ค้นพบแล้วตรวจสอบได้

 

  1. อย่าลืมใส่ Meta Data ให้กับเว็บไซต์ของคุณด้วย

ใส่ title tag และ meta description ให้กับเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณ

  • ทุกวันนี้บอท Google ไม่ได้สนใจ meta keyword มากหนักแต่ถ้าคุณใส่ meta keyword ให้ใช้คีย์เวิร์ดที่จะอธิบายถึงเว็บไซต์ของคุณด้วยรูปแบบที่ถูกต้อง
  • เขียน meta description ให้มีลักษณะเฉพาะและอธบายถึงเว็บไซต์ได้ชัดเจน แต่การใช้ meta description ที่ซ้ำกันจะไม่ช่วยให้คุณติดอันดับได้เลย

สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคํญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือการใส่ title tag ของเนื้อหาให้มีความโดดเด่นที่จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ได้

 

Cr. (https://searchenginewatch.com/sew/how-to/2259693/seo-basics-8-essentials-when-optimizing-your-site)